ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๒. อาวรณตาสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น
[๘๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็ไม่อาจก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม๑- ในกุศลธรรมทั้งหลายได้ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ปัญจกนิบาต ข้อ ๑๕๑ หน้า ๒๔๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๑๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๙. สีติวรรค ๒. อาวรณตาสูตร

ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกรรมเป็นเครื่องกั้น๑- ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกิเลสเป็นเครื่องกั้น๒- ๓. เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีวิบากเป็นเครื่องกั้น๓- ๔. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๕. เป็นผู้ไม่มีฉันทะ ๖. เป็นผู้มีปัญญาทราม ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็ไม่อาจก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่ อาจก้าว ลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้ ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกรรมเป็นเครื่องกั้น ๒. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกิเลสเป็นเครื่องกั้น ๓. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยความเป็นผู้มีวิบากเป็นเครื่องกั้น ๔. เป็นผู้มีศรัทธา ๕. เป็นผู้มีฉันทะ ๖. เป็นผู้มีปัญญา ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่ อาจก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้
อาวรณตาสูตรที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ กรรมเป็นเครื่องกั้น ในที่นี้หมายถึงอนันตริยกรรม ๕ คือ (๑) มาตุฆาต (ฆ่ามารดา) (๒) ปิตุฆาต (ฆ่า @บิดา) (๓) อรหันตฆาต(ฆ่าพระอรหันต์) (๔) โลหิตุปบาท(ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงให้พระโลหิตห้อขึ้นไป) @(๕) สังฆเภท (ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๖/๑๕๕) @ กิเลสเป็นเครื่องกั้น ในทีนี้หมายถึงนิยตมิจฉาทิฏฐิ (ได้แก่ลัทธิที่มีความเชื่อว่าสัตว์ วิญญาณ หรือชีวาตมัน @มีความเที่ยงแท้ไม่ดับสลาย) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๖/๑๕๕) @ วิบากเป็นเครื่องกั้น ในที่นี้หมายถึงอกุสลวิปากปฏิสนธิ (การถือปฏิสนธิเพราะผลแห่งอกุศลกรรม) หรือ @อเหตุกปฏิสนธิ (การถือปฏิสนธิโดยปราศจากเหตุ) ในกุศลวิบากอยู่ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๖/๑๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๑๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๖๑๐-๖๑๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=337              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=10224&Z=10241                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=357              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=357&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3485              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=357&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3485                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i356-e.php#sutta2 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an06/an06.086.than.html https://suttacentral.net/an6.86/en/sujato https://suttacentral.net/an6.86/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :