ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๗. เทวตาวรรค ๗. สักขิภัพพสูตร

๗. สักขิภัพพสูตร
ว่าด้วยความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัด
[๗๑] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่อาจ บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ในเมื่อมีเหตุ๑- ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้คือธรรมฝ่ายเสื่อม’ ๒. ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้คือธรรมฝ่ายคงที่’ ๓. ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้คือธรรมฝ่ายคุณวิเศษ’ ๔. ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้คือธรรมฝ่ายชำแรกกิเลส๒-’ ๕. เป็นผู้ไม่ทำความเคารพ๓- ๖. เป็นผู้ไม่ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ๔- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่อาจบรรลุ ความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ในเมื่อมีเหตุ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ปัญจกนิบาต ข้อ ๒๓ (อุปกิเลสสูตร) หน้า ๒๘ ในเล่มนี้ @ ธรรมฝ่ายเสื่อม หมายถึงสมาธิที่ยังมีนิวรณ์ ๕ เกิดขึ้นในปฐมฌาน หรือยังมีสัญญามนสิการที่ประกอบ @ด้วยกามเกิดขึ้นอยู่ @ธรรมฝ่ายคงที่ หมายถึงสมาธิของบุคคลผู้มีมิจฉาสติ คือความยินดี พอใจ ติดใจ หยุดอยู่เพียงแค่ปฐม- @ฌานนั้น ไม่เสื่อม ไม่เจริญ เพราะเข้าใจว่าปฐมฌานละเอียดแล้ว ประณีตแล้ว @ธรรมฝ่ายคุณวิเศษ หมายถึงสมาธิที่คล่องแคล่วเกิดขึ้นในปฐมฌาน แต่มีมนสิการถึงทุติยฌานว่าไม่มีวิตก @มีสัญญามนสิการคอยตักเตือนเพื่อให้บรรลุทุติยฌาน จึงออกจากปฐมฌาน @ธรรมฝ่ายชำแรกกิเลส หมายถึงสมาธิที่มีสัญญามนสิการประกอบด้วยวิปัสสนาญาณ ตักเตือนเพื่อทำให้ @แจ้งนิพพาน (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๗๑-๗๔/๑๗๕-๑๗๖, วิสุทฺธิ. ๑/๓๙/๙๔-๙๖) และดู @อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๗๙๙/๕๑๑-๕๑๒ @ ไม่ทำความเคารพ ในที่นี้หมายถึงไม่ทำให้ดี กล่าวคือ ไม่เอื้อเฟื้อเอาใจใส่ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๗๑/๑๕๒) @ ไม่ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ หมายถึงไม่ประพฤติธรรมที่เป็นอุปการะ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๗๑/๑๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๙๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๗. เทวตาวรรค ๘. พลสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้อาจบรรลุความ เป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ในเมื่อมีเหตุ ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้คือธรรมฝ่ายเสื่อม’ ๒. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้คือธรรมฝ่ายคงที่’ ๓. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้คือธรรมฝ่ายคุณวิเศษ’ ๔. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้คือธรรมฝ่ายชำแรกกิเลส’ ๕. เป็นผู้ทำความเคารพ ๖. เป็นผู้ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้อาจบรรลุความ เป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ในเมื่อมีเหตุ
สักขิภัพพสูตรที่ ๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๕๙๓-๕๙๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=322              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=9992&Z=10012                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=342              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=342&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3430              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=342&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3430                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i336-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/an6.71/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :