ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๕. ทารุกัมมิกสูตร

๕. ทารุกัมมิกสูตร
ว่าด้วยคหบดีชื่อทารุกัมมิกะ
[๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ คิญชกาวสถาราม ครั้งนั้น คหบดี ชื่อว่าทารุกัมมิกะ๑- เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามดังนี้ว่า “คหบดี ทานประจำตระกูลท่านยังให้อยู่หรือ” คหบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานประจำตระกูลข้าพระองค์ยัง ให้อยู่ ทั้งทานนั้นข้าพระองค์ให้ในภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ หรือผู้บรรลุอรหัตตมรรค ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “คหบดี ท่านผู้เป็นคฤหัสถ์ เป็นกามโภคี อยู่ครองเรือน นอนเบียดเสียดบุตร ใช้สอยผงแก่นจันทน์จากแคว้นกาสี ทัดทรง ดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ ยินดีทองและเงินอยู่ พึงรู้ข้อนี้ได้ยากว่า ‘เหล่านี้คือพระอรหันต์ เหล่านี้คือท่านผู้บรรลุอรหัตตมรรค’ คหบดี ๑. ถ้าภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิต กวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียน ด้วยเหตุนั้น ถ้าภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่โลเล ไม่ปากกล้า ไม่พูดพร่ำเพรื่อ มีสติมั่นคง มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตแน่วแน่ สำรวมอินทรีย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้น พึงได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น @เชิงอรรถ : @ ทารุกัมมิกะ หมายถึงอุบาสกผู้ประกอบอาชีพขายฟืน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๙/๑๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๕๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๕. ทารุกัมมิกสูตร

๒. ถ้าภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้น พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ๓. ถ้าภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็น อย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต เป็นวัตร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับ การสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ๔. ถ้าภิกษุผู้รับนิมนต์ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้น พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าภิกษุรับนิมนต์ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ๕. ถ้าภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็น อย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุล เป็นวัตร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับ การสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ๖. ถ้าภิกษุผู้ทรงคหบดีจีวร เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิต กวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียน ด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้ทรงคหบดีจีวร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่โลเล ไม่ปากกล้า ไม่พูดพร่ำเพรื่อ มีสติมั่นคง มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตแน่วแน่ สำรวมอินทรีย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้น พึงได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น คหบดี เชิญท่านถวายสังฆทานเถิด เมื่อท่านถวายสังฆทานอยู่ จิตจักเลื่อมใส หลังจากตายแล้วท่านจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” คหบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักถวายสังฆทานตั้งแต่ วันนี้เป็นต้นไป”
ทารุกัมมิกสูตรที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๕๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๕๕๒-๕๕๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=310              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=9201&Z=9238                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=330              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=330&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3251              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=330&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3251                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i326-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/an6.59/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :