ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อนุตตริยวรรค ๘. ทุติยสมยสูตร

๘. ทุติยสมยสูตร
ว่าด้วยสมัยที่ควรพบผู้เจริญภาวนา สูตรที่ ๒
[๒๘] สมัยหนึ่ง ภิกษุเถระจำนวนมาก อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น เมื่อภิกษุเถระเหล่านั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉัน อาหารเสร็จแล้ว นั่งประชุมกันในโรงฉัน๑- ได้เกิดการสนทนากันขึ้นในระหว่างว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยไหนเป็นสมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ” เมื่อกล่าวถามกันอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุเถระดังนี้ว่า “ผู้มีอายุ สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจกลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันอาหารเสร็จ ล้างเท้าแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า๒- สมัยนั้น เป็นสมัยที่ควร เข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ” เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ผู้มีอายุ สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ เพราะ สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ กลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันอาหารเสร็จ ล้างเท้าแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น ความ เหน็ดเหนื่อยเพราะการเที่ยวบิณฑบาตของภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้นยังไม่สงบระงับ และความเหน็ดเหนื่อยเพราะการฉันอาหารของภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้นก็ยังไม่ สงบระงับ ฉะนั้น สมัยนั้นจึงไม่ใช่สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้น แต่สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น นั่งคู้ บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้าที่ร่มเงาวิหาร สมัยนั้น ควรเข้าไปพบภิกษุ ผู้เจริญภาวนาทางใจ” เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ โรงฉัน แปลจากภาษาบาลีว่า ‘มณฺฑลมาเฬ’ หมายถึง(โภชนสาลา)โรงฉันที่สร้างเป็นปะรำมีลักษณะกลม @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๘/๑๑๑, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๒๘/๑๒๖) @ ดูเชิงอรรถที่ ๕ ปัญจกนิบาต ข้อ ๗๕ หน้า ๑๒๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๖๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อนุตตริยวรรค ๘. ทุติยสมยสูตร

“ผู้มีอายุ สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ เพราะ สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้าที่ร่มเงาวิหาร สมัยนั้น สมาธินิมิตที่ท่านมนสิการ ในเวลากลางวัน ก็ยังฟุ้งซ่านอยู่ ฉะนั้น สมัยนั้นจึงไม่ใช่สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุ ผู้เจริญภาวนาทางใจ แต่สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ นั่งคู้ บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น เป็นสมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้ เจริญภาวนาทางใจ” เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่ง จึงกล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ผู้มีอายุ สมัยนั้น ก็ไม่ใช่สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แต่สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรง สติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น กายของท่านตั้งอยู่ในโอชารส ความสบายย่อมมีแก่ท่าน เพื่อมนสิการถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ฉะนั้น สมัยนั้น จึงเป็นสมัยที่ควรเข้าไปพบ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ” เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหากัจจานะจึงได้กล่าวกับภิกษุเถระ ทั้งหลายดังนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนั้นผมได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี พระภาคว่า ‘ภิกษุ สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ๖ ประการนี้ สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สมัยใด ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะ ครอบงำอยู่ และเธอก็ไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัดกามราคะที่ เกิดขึ้นตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้ เจริญภาวนาทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูก กามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่ง อุบายเครื่องสลัดกามราคะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุ โปรดแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนา ทางใจย่อมแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ ๑ ที่ ควรไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๖๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อนุตตริยวรรค ๙. อุทายีสูตร

๒. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ฯลฯ๑- ๓. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ฯลฯ ๔. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ฯลฯ ๕. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ฯลฯ ๖. สมัยใด ภิกษุไม่รู้ไม่เห็นนิมิตซึ่งเป็นที่สิ้นอาสวะโดยลำดับสำหรับผู้ อาศัยมนสิการอยู่ สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนา ทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมไม่รู้ไม่เห็นนิมิตซึ่งเป็นที่สิ้น อาสวะโดยลำดับสำหรับผู้อาศัยมนสิการอยู่ ขอผู้มีอายุโปรดแสดง ธรรมเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญ ภาวนาทางใจย่อมแสดงธรรมเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย แก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ ๖ ที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนั้นผมได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ‘ภิกษุ สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ๖ ประการนี้แล”
ทุติยสมยสูตรที่ ๘ จบ
๙. อุทายีสูตร
ว่าด้วยท่านพระอุทายี
[๒๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอุทายีมาตรัสถามว่า “อุทายี อนุสสติฏฐาน๒- มีเท่าไรหนอ” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้ ท่านพระอุทายีได้นิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งเรียกท่านพระอุทายีมาตรัสถามว่า “อุทายี อนุสสติฏฐาน มีเท่าไรหนอ” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามแล้วอย่างนี้ แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอุทายีก็นิ่งอยู่ @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในปฐมสมยสูตร @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๙ (อนุสสติฏฐานสูตร) หน้า ๔๒๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๖๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๖๕-๔๖๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=279              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=7545&Z=7594                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=299              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=299&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=2499              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=299&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=2499                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i292-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/an6.28/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :