ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. อาฆาตวรรค ๑๐. ภัททชิสูตร

๑๐. ภัททชิสูตร
ว่าด้วยท่านพระภัททชิ
[๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้นแล ท่านพระภัททชิได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระ ภัททชิดังนี้ว่า “ท่านภัททชิ บรรดาการเห็นทั้งหลาย การเห็นชนิดไหนเป็นเลิศ บรรดาการได้ ยินทั้งหลาย การได้ยินชนิดไหนเป็นเลิศ บรรดาสุขทั้งหลาย สุขชนิดไหนเป็นเลิศ บรรดาสัญญาทั้งหลาย สัญญาชนิดไหนเป็นเลิศ บรรดาภพทั้งหลาย ภพชนิดไหน เป็นเลิศ” ท่านภัททชิตอบว่า “ผู้มีอายุ มีพรหมผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครครอบงำได้ เห็นทุกสิ่ง มีอำนาจเหนือผู้อื่น ผู้ใดเห็นพรหมนั้น การเห็นของผู้นั้นนี้เลิศกว่าการเห็นทั้งหลาย มีเทวดาเหล่าอาภัสสระ ผู้เพียบพร้อมด้วยความสุข เทวดาเหล่านั้นเปล่งอุทานบาง ครั้งบางแห่งว่า “สุขหนอๆ” ผู้ใดได้ยินเสียงนั้น การได้ยินของผู้นั้นนี้เลิศกว่า การได้ยินทั้งหลาย มีเทวดาเหล่าสุภกิณหะ เทวดาเหล่านั้นยินดีเฉพาะสิ่งที่มี เสวย สุขอยู่ การเสวยสุขนี้เลิศกว่าความสุขทั้งหลาย มีเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญา- ยตนภพ การเข้าถึงนี้เลิศกว่าสัญญาทั้งหลาย มีเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานา- สัญญายตนภพ การเข้าถึงนี้เลิศกว่าภพทั้งหลาย พระอานนท์กล่าวว่า “คำพูดของท่านภัททชิ ก็เหมือนกับคนจำนวนมาก” พระภัททชิกล่าวว่า “ท่านอานนท์เป็นพหูสูต เฉพาะท่านอานนท์เท่านั้นที่จะ สามารถอธิบายเนื้อความนี้ให้แจ่มแจ้งได้” พระอานนท์กล่าวว่า “ท่านภัททชิ ถ้าเช่นนั้นท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจัก กล่าว” ท่านพระภัททชิรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๘๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. อาฆาตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

“ผู้มีอายุ ความสิ้นอาสวะย่อมมีในลำดับแก่บุคคลผู้เห็นตามความเป็นจริง การเห็นนี้เลิศกว่าการเห็นทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะย่อมมีในลำดับแก่บุคคลผู้ได้ยิน ตามความเป็นจริง การได้ยินนี้เลิศกว่าการได้ยินทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะย่อมมี ในลำดับแก่บุคคลผู้ได้รับความสุขตามความเป็นจริง ความสุขนี้เลิศกว่าความสุข ทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะย่อมมีในลำดับแก่บุคคลผู้มีสัญญาตามความเป็นจริง สัญญานี้เลิศกว่าสัญญาทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะย่อมมีในลำดับแก่บุคคลผู้เป็นอยู่ ตามความเป็นจริง ความเป็นอยู่นี้เลิศกว่าภพทั้งหลาย”
ภัททชิสูตรที่ ๑๐ จบ
อาฆาตวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมอาฆาตปฏิวินยสูตร ๒. ทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร ๓. สากัจฉสูตร ๔. อาชีวสูตร ๕. ปัญหาปุจฉาสูตร ๖. นิโรธสูตร ๗. โจทนาสูตร ๘. สีลสูตร ๙. ขิปปนิสันติสูตร ๑๐. ภัททชิสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๘๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๘๕-๒๘๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=170              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=4685&Z=4724                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=170              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=170&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1477              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=170&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1477                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i161-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/an5.170/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :