ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๖. ทุติยปัตถนาสูตร
ว่าด้วยความปรารถนา สูตรที่ ๒
[๑๓๖] ภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของกษัตราธิราชผู้ได้รับ มูรธาภิเษกแล้ว ทรงประกอบด้วย องค์ ๕ ประการ ย่อมปรารถนาความเป็นอุปราช องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ พระราชโอรสองค์ใหญ่ของกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วในโลกนี้ ๑. เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายพระมารดาและฝ่ายพระบิดา ถือปฏิสนธิ บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะ อ้างถึงชาติตระกูล ๒. เป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๒๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. ราชวรรค ๖. ทุติยปัตถนาสูตร

๓. เป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระมารดาและพระบิดา ๔. เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของกองทัพ ๕. เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญาสามารถคิดเหตุการณ์ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันได้ พระราชโอรสพระองค์นั้น มีดำริอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีชาติดีทั้งฝ่ายพระมารดา และฝ่ายพระบิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้าน ตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล ไฉนเราจะไม่ปรารถนาเป็นอุปราชเล่า เราเป็นผู้มี รูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก ไฉนเราจะไม่ปรารถนาเป็น อุปราชเล่า เราเป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระมารดาและพระบิดา ไฉนเราจะ ไม่ปรารถนาเป็นอุปราชเล่า เราเป็นที่รักเป็นที่พอใจแห่งกองทัพ ไฉนเราจะไม่ ปรารถนาเป็นอุปราชเล่า เราเป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา สามารถคิดเหตุการณ์ ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันได้ ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความเป็นอุปราชเล่า’ ภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมปรารถนาความเป็นอุปราช ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ปรารถนาความสิ้น อาสวะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ ๓. เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔ ๑- ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม ฯลฯ ไม่ทอดธุระใน กุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ๕. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้ง ความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ม. ๑๐/๓๗๒-๓๗๔/๒๔๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๒๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. ราชวรรค ๗. อัปปังสุปติสูตร

เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสม สุตะ ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราเป็น ผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เรา เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม ฯลฯ ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราเป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ ให้ถึงความสิ้น ทุกข์โดยชอบ ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า’ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมปรารถนาความ สิ้นอาสวะ
ทุติยปัตถนาสูตรที่ ๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๒๐-๒๒๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=136              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=3621&Z=3656                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=136              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=136&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1186              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=136&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1186                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i131-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/an5.136/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :