ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๓. ธัมมราชาสูตร
ว่าด้วยธรรมราชา
[๑๓๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ย่อมไม่ทรงให้จักรที่มิใช่ของพระราชาหมุนไป” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไร เป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ธรรม๑- เป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ ทรงธรรม เป็นธรรมราชา” แล้วตรัสต่อไปว่า “พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็น ธรรมราชาในโลกนี้ ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อม ธรรม เชิดชูธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกันและ คุ้มครองชนภายใน๒- โดยธรรม อีกประการหนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ฯลฯ มีธรรม เป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองพวกกษัตริย์ผู้ตามเสด็จ กำลังพล @เชิงอรรถ : @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ จัดเป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๗) @ ชนภายใน หมายถึงมเหสี พระราชโอรส และพระราชธิดา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๑๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. ราชวรรค ๓. ธัมมราชาสูตร

พราหมณ์คหบดี ชาวนิคม ชาวชนบท สมณพราหมณ์ สัตว์จำพวกเนื้อและนก โดยธรรม พระเจ้าจักรพรรดินั้นแลผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ฯลฯ มีธรรมเป็นใหญ่ ครั้นทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองโดยธรรมแล้ว จึงให้จักรหมุนไปโดย ธรรมเท่านั้น จักรนั้นอันใครๆ ที่เป็นมนุษย์ เป็นข้าศึก และเป็นสัตว์มีชีวิตให้หมุน กลับไม่ได้ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา๑- ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชูธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครอง ภิกษุทั้งหลายโดยธรรมว่า ๑. กายกรรมเช่นนี้ควรประพฤติ กายกรรมเช่นนี้ไม่ควรประพฤติ ๒. วจีกรรมเช่นนี้ควรประพฤติ วจีกรรมเช่นนี้ไม่ควรประพฤติ ๓. มโนกรรมเช่นนี้ควรประพฤติ มโนกรรมเช่นนี้ไม่ควรประพฤติ ๔. อาชีพเช่นนี้ควรประกอบ อาชีพเช่นนี้ไม่ควรประกอบ ๕. บ้านและนิคมเช่นนี้ควรอยู่อาศัย บ้านและนิคมเช่นนี้ไม่ควรอยู่อาศัย อีกประการหนึ่ง ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงธรรม เป็นธรรม ราชา ฯลฯ มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองภิกษุณีทั้งหลาย โดยธรรม ... อุบาสกทั้งหลาย ... อุบาสิกาทั้งหลายโดยธรรมว่า ๑. กายกรรมเช่นนี้ควรประพฤติ กายกรรมเช่นนี้ไม่ควรประพฤติ ฯลฯ ๕. บ้านและนิคมเช่นนี้ควรอยู่อาศัย บ้านและนิคมเช่นนี้ไม่ควรอยู่อาศัย @เชิงอรรถ : @ ธรรมราชา เป็นพระนามของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึงพระผู้ทรงให้มหาชนยินดีด้วย @โลกุตตรธรรม ๙ ประการ (มรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑) (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๑๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. ราชวรรค ๔. ยัสสังทิสังสูตร

ภิกษุ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ทรงธรรม เป็น ธรรมราชา ฯลฯ มีธรรมเป็นใหญ่ ครั้นทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครอง ภิกษุทั้งหลายโดยธรรม ภิกษุณีทั้งหลาย ... อุบาสกทั้งหลาย ... อุบาสิกาทั้งหลาย โดยธรรมแล้ว จึงทรงให้ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมหมุนไปโดยธรรมเท่านั้น จักร๑- นั้นอัน สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้”
ธัมมราชาสูตรที่ ๓ จบ
๔. ยัสสังทิสังสูตร
ว่าด้วยทิศที่กษัตริย์ใช้ประทับ
[๑๓๔] ภิกษุทั้งหลาย กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว๒- ทรงประกอบ ด้วยองค์ ๕ ประการ จะประทับอยู่ ณ ทิศใดๆ ก็เหมือนกับประทับอยู่ในแคว้น ของพระองค์เอง องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ กษัตราธิราชในโลกนี้ ๑. ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงมีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายพระมารดาและฝ่าย พระบิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ๓- ไม่มีใคร จะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล ๒. ทรงเป็นผู้มั่งคั่ง มีพระราชทรัพย์มาก มีพระราชสมบัติมาก มี พระฉางและพระคลัง๔- บริบูรณ์ @เชิงอรรถ : @ จักร ในที่นี้หมายถึงธรรมจักรอันยอดเยี่ยมที่พระพุทธองค์ทรงให้หมุนไปด้วยนวโลกุตตรธรรม ๙ ประการ @อันใครๆ ไม่สามารถให้หมุนกลับได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๙) @ มูรธาภิเษก หมายถึงน้ำรดพระเศียรในงานราชาภิเษกหรือพระราชพิธีอื่นๆ (พจนานุกรม ฉบับ @ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕) @ เจ็ดชั่วบรรพบุรุษ หมายถึงวิธีนับลำดับบรรพบุรุษแบบหนึ่ง เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ของวงศ์ตระกูลโดย @นับจากปัจจุบันขึ้นไป ๗ ชั้น (ที.สี.อ. ๓๐๓/๒๕๒-๒๕๓) @ พระฉาง (โกสะ) ในที่นี้หมายถึงกองกำลัง ๔ เหล่า คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลคนเดินเท้า @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๔/๕๒, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๓๔/๕๖) @พระคลัง (โกฏฐาคาร) หมายถึงพระคลัง ๓ ชนิด คือ พระคลังเก็บทรัพย์ พระคลังเก็บข้าวเปลือก @และพระคลังเก็บผ้า (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๔/๕๒, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๓๔/๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๑๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๑๔-๒๑๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=133              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=3503&Z=3541                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=133              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=133&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1147              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=133&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1147                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i131-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/an5.133/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :