ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๕. อนุโสตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ไปตามกระแส
[๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวก๑- ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้ไปตามกระแส ๒. บุคคลผู้ไปทวนกระแส ๓. บุคคลผู้มีภาวะตั้งมั่น ๔. บุคคลผู้ลอยบาปข้าม๒- ถึงฝั่งดำรงอยู่บนบก๓- บุคคลผู้ไปตามกระแส เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เสพกาม๔- และทำบาปกรรม๕- นี้เรียกว่าบุคคลผู้ไป ตามกระแส @เชิงอรรถ : @ ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๘๘/๒๑๖ @ หมายถึงข้ามพ้นโอฆะได้ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕/๒๘๑) @ บนบก ในที่นี้หมายถึงพระนิพพาน (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕/๒๘๑) @ เสพกาม ในที่นี้หมายถึงเสพวัตถุกาม (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕/๒๘๑) @ บาปกรรม ในที่นี้หมายถึงการฆ่าสัตว์เป็นต้น (องฺ.จตุกฺก. อ. ๒/๕/๒๘๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. ภัณฑคามวรรค ๕. อนุโสตสูตร

บุคคลผู้ไปทวนกระแส เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เสพกามและไม่ทำบาปกรรม แม้มีทุกข์ทางกาย และทุกข์ทางใจ ร้องไห้น้ำตานองหน้า ก็ยังประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ นี้เรียกว่าบุคคลผู้ไปทวนกระแส บุคคลผู้มีภาวะตั้งมั่น เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการสิ้นไป เป็นโอปปาติกะ๑- ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับจากโลกนั้นอีก นี้เรียกว่าบุคคลผู้มีภาวะตั้งมั่น บุคคลผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่งดำรงอยู่บนบก เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เรียกว่าบุคคลผู้ลอย บาปข้ามถึงฝั่งดำรงอยู่บนบก ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก ในโลกนี้ชนผู้ไม่สำรวมในกามทั้งหลาย ยังไม่ปราศจากราคะ บริโภคกามตามปกติ ถูกตัณหาครอบงำ เข้าถึงชาติและชราเสมอ ชื่อว่าผู้ไปตามกระแส เพราะเหตุนั้นแล บุคคลผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติตั้งมั่นในโลกนี้ ไม่เสพกามและไม่ทำบาปกรรม แม้มีทุกข์ก็ยังละกามได้ บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคลผู้เป็นนักปราชญ์นั้นว่า ผู้ไปทวนกระแส @เชิงอรรถ : @ โอปปาติกะ หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ (ตาย) ก็หายวับไป ไม่ทิ้งซากศพไว้ @เช่น เทวดาและสัตว์นรก (ที.สี.อ. ๑๗๑/๑๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. ภัณฑคามวรรค ๖. อัปปัสสุตสูตร

นรชนผู้ละกิเลส ๕ ประการได้ มีสิกขาบริบูรณ์ เป็นผู้ไม่เสื่อมแน่นอน ถึงความเชี่ยวชาญในจิต๑- มีอินทรีย์ตั้งมั่น บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่า ผู้มีภาวะตั้งมั่น บุคคลผู้ประกอบด้วยญาณกำจัดธรรมทั้งหลาย ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลให้สิ้นไปไม่เหลืออยู่ เป็นผู้ถึงเวท อยู่จบพรหมจรรย์ ถึงที่สุดแห่งโลก บัณฑิตเรียกว่าผู้ถึงฝั่ง๒-
อนุโสตสูตรที่ ๕ จบ
๖. อัปปัสสุตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้มีสุตะน้อย
[๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวก๓- ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้มีสุตะน้อยทั้งไม่เข้าถึงสุตะ ๒. บุคคลผู้มีสุตะน้อย แต่เข้าถึงสุตะ ๓. บุคคลผู้มีสุตะมาก แต่ไม่เข้าถึงสุตะ ๔. บุคคลผู้มีสุตะมากทั้งเข้าถึงสุตะ บุคคลผู้มีสุตะน้อยทั้งไม่เข้าถึงสุตะ เป็นอย่างไร @เชิงอรรถ : @ ถึงความเชี่ยวชาญในจิต คือ ถึงความมีวสีแห่งจิต ในที่นี้หมายถึงพระอนาคามี @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕/๒๘๑) @ ผู้ถึงฝั่ง ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพเท่านั้น (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕/๒๘๑) @ ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๘๙/๒๑๖-๒๑๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๗-๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=5              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=101&Z=133                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=5              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=5&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6499              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=5&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6499                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i001-e.php#sutta5 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i001-e2.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.005.than.html https://suttacentral.net/an4.5/en/sujato https://suttacentral.net/an4.5/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :