ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๕. วัสสการสูตร
ว่าด้วยวัสสการพราหมณ์
[๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ กระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น วัสสการพราหมณ์ผู้เป็นมหาอำมาตย์แห่งแคว้น มคธเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พวกข้าพเจ้าบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ว่าเป็นมหาบุรุษผู้มีปัญญามาก ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ บุคคลในโลกนี้ ๑. เป็นพหูสูตแห่งเรื่องที่ฟังนั้นๆ รู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้นๆ ว่า ‘นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้’ @เชิงอรรถ : @ ความเป็นผู้เลิศ หมายถึงเกิดในหมู่สัตว์ใดๆ ก็ถึงความเป็นผู้เลิศ ความเป็นผู้ประเสริฐในหมู่สัตว์นั้นๆ @หรือได้บรรลุมรรคผลอันเป็นโลกุตตระ (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๓๔/๓๖๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๕๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. จักกวรรค ๕. วัสสการสูตร

๒. มีสติ ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ ๓. เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำของคฤหัสถ์ ๔. ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา อันเป็นอุบายในการงานที่ จะต้องช่วยกันทำนั้นๆ สามารถทำได้ สามารถจัดได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม พวกข้าพเจ้าบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ นี้แลว่าเป็นมหาบุรุษผู้มีปัญญามาก ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าข้าพเจ้าพึงยินดี ขอ ท่านพระโคดมทรงยินดีตามข้าพเจ้า ถ้าข้าพเจ้าพึงคัดค้าน ขอท่านพระโคดมทรง คัดค้านตามข้าพเจ้าด้วยเถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เราไม่ยินดีตาม แต่ไม่คัดค้านท่าน เราบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการว่าเป็นมหาบุรุษผู้มีปัญญามาก ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ บุคคลในโลกนี้ ๑. ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก ให้คนหมู่ มากตั้งอยู่ในอริยธรรมที่ควรรู้ คือ ความเป็นผู้มีกัลยาณธรรม ความเป็นผู้มีกุศลธรรม ๒. ปรารถนาจะตรึกตรองเรื่องใด ก็ตรึกตรองเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะ ตรึกตรองเรื่องใด ก็ไม่ตรึกตรองเรื่องนั้น ปรารถนาจะดำริเรื่องใด ก็ดำริเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะดำริเรื่องใด ก็ไม่ดำริเรื่องนั้น ถึงความ เชี่ยวชาญในจิตในแนวทางแห่งการตรึกตรองทั้งหลาย ๓. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ๔. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้น ไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน พราหมณ์ เราไม่ยินดีตาม แต่ไม่คัดค้านท่านเลย เราบัญญัติบุคคลผู้ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลว่าเป็นมหาบุรุษผู้มีปัญญามาก” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๕๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. จักกวรรค ๕. วัสสการสูตร

วัสสการพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย ปรากฏ ท่านพระโคดมตรัสเรื่องนี้ไว้ดียิ่งนัก พวกข้าพเจ้าจะทรงจำท่านพระโคดมไว้ ว่า เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ว่า แท้ที่จริง ท่านพระโคดมทรงปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก ให้คนหมู่มากตั้งอยู่ในอริยธรรมที่ ควรรู้ คือ ความเป็นผู้มีกัลยาณธรรม ความเป็นผู้มีกุศลธรรม ท่านพระโคดมทรง ปรารถนาจะตรึกตรองเรื่องใด ก็ตรึกตรองเรื่องนั้น ไม่ทรงปรารถนาจะตรึกตรอง เรื่องใด ก็ไม่ทรงตรึกตรองเรื่องนั้น ทรงปรารถนาจะดำริเรื่องใด ก็ดำริเรื่องนั้น ไม่ทรงปรารถนาจะดำริเรื่องใด ก็ไม่ดำริเรื่องนั้น ทรงถึงความเชี่ยวชาญในจิตใน แนวทางแห่งการตรึกตรองทั้งหลาย ทรงได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ทรงทำให้ แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ท่านกล่าววาจาแสดงความเห็นด้วยใน เรื่องนี้ และเราจักเฉลยแก่ท่านว่า แท้ที่จริง เราปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก ให้คนหมู่มากตั้งอยู่ในอริยธรรมที่ควรรู้ คือ ความเป็นผู้มี กัลยาณธรรม ความเป็นผู้มีกุศลธรรม ก็เราปรารถนาจะตรึกตรองเรื่องใด ก็ตรึก ตรองเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะตรึกตรองเรื่องใด ก็ไม่ตรึกตรองเรื่องนั้น ปรารถนา จะดำริเรื่องใด ก็ดำริเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะดำริเรื่องใด ก็ไม่ดำริเรื่องนั้น ถึงความ เชี่ยวชาญในจิตในแนวทางแห่งการตรึกตรองทั้งหลาย เราได้ฌาน ๔ อันมีใน จิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วย ปัญญาอัน ยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” บุคคลผู้รู้แจ้งทางปลดเปลื้องสรรพสัตว์ จากบ่วงแห่งมัจจุราช ประกาศธรรมที่ควรรู้ ที่เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ อนึ่ง ชนจำนวนมากเลื่อมใส เพราะเห็นหรือได้ฟังข่าวของบุคคลใด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๕๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. จักกวรรค ๖. โทณสูตร

เราเรียกบุคคลนั้น ผู้ฉลาดในธรรมที่เป็นทางและมิใช่ทาง ผู้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ เป็นพุทธะ๑- ธำรงชาติสุดท้ายว่า เป็นมหาบุรุษ
วัสสการสูตรที่ ๕ จบ
๖. โทณสูตร
ว่าด้วยโทณพราหมณ์
[๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จทางไกลระหว่างเมืองอุกกัฏฐะ๒- กับเมือง เสตัพยะ โทณพราหมณ์ก็ได้เดินทางไกลระหว่างเมืองอุกกัฏฐะกับเมืองเสตัพยะ ได้ เห็นรอยกงจักรมีซี่กำตั้งพันซี่ มีกง มีดุมครบ มีส่วนประกอบครบทุกอย่างที่รอย พระบาทของพระผู้มีพระภาค ได้มีความคิดว่า “ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย ปรากฏ รอยเท้าเหล่านี้คงไม่ใช่รอยเท้ามนุษย์” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลง ข้างทางประทับนั่งที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ทรงคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะ หน้า ลำดับนั้น โทณพราหมณ์เดินตามรอยพระบาทของพระผู้มีพระภาค ได้เห็น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง มีพระอาการกิริยาน่าพอใจ น่าเลื่อมใส มีพระอินทรีย์สงบ มีพระทัยสงบ บรรลุการฝึกและความสงบยอดเยี่ยม๓- ทรงฝึกตน แล้ว คุ้มครองแล้ว สำรวมอินทรีย์ ผู้ชื่อว่านาคะ๔- ครั้นแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านผู้เจริญเป็นเทวดาใช่หรือไม่” @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๒๓ (โลกสูตร) หน้า ๓๘ ในเล่มนี้ @ เมืองอุกกัฏฐะ หมายถึงเมืองที่ชาวเมืองจุดประทีปมีด้ามส่องให้สร้าง หรือเมืองที่ประกอบด้วยคุณอัน @อุกฤษฏ์ เพราะมีภาคพื้นสมบูรณ์ มีมนุษย์สมบูรณ์ และมีอุปกรณ์ (เครื่องมือ) มากมาย @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๖/๓๓๖, องฺ.จตุกฺก. ฏีกา ๒/๓๖/๓๖๕) @ บรรลุการฝึกและความสงบยอดเยี่ยม หมายถึงอรหัตตมรรคและอรหัตตมัคคสมาธิ @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๖/๓๓๗) @ นาคะ นี้มีนัยกล่าวไว้ ๔ อย่าง คือ (๑) ไม่ถึงอคติมีฉันทาคติเป็นต้น (๒) ไม่ทรงกลับมาหากิเลสที่ละ @ได้แล้วอีก (๓) ไม่กระทำความชั่ว (๔) มีกำลัง (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๖/๓๓๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๕๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๕๕-๕๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=35              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=945&Z=1008                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=35              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=35&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=7760              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=35&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=7760                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i031-e.php#sutta5 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i031-e2.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.035.than.html https://suttacentral.net/an4.35/en/sujato https://suttacentral.net/an4.35/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :