ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๑. สวิฏฐสูตร

๓. ปุคคลวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคล
๑. สวิฏฐสูตร
ว่าด้วยพระสวิฏฐะและมหาโกฏฐิตะ
[๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระสวิฏฐะและท่านพระมหาโกฏฐิตะเข้าไป หาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึก ถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับท่านพระสวิฏฐะดังนี้ว่า ท่านสวิฏฐะ บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. กายสักขีบุคคล๑- ๒. ทิฏฐิปัตตบุคคล๒- ๓. สัทธาวิมุตตบุคคล๓- บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ท่านชอบใจบุคคลจำพวกไหนซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ท่านพระสวิฏฐะตอบว่า บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @ กายสักขีบุคคล หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป เป็นผู้เห็นประจักษ์กับตัว สัมผัสวิโมกข์ @๘ ด้วยนามกาย แล้วสามารถทำให้แจ้งพระนิพพานภายหลังได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๑/๙๘, @องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ ทิฏฐิปัตตบุคคล หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป บรรลุสัมมาทิฏฐิ เข้าใจอริยสัจถูกต้อง @(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ สัทธาวิมุตตบุคคล หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา @(องฺ.ติก.อ. ๒/๒๑/๙๘, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑-๑๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๖๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๑. สวิฏฐสูตร

๑. กายสักขีบุคคล ๒. ทิฏฐิปัตตบุคคล ๓. สัทธาวิมุตตบุคคล บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ผมชอบใจสัทธาวิมุตตบุคคลซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสัทธินทรีย์ของบุคคลนี้แก่กล้ายิ่งนัก ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับท่านพระมหาโกฏฐิตะดังนี้ว่า บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. กายสักขีบุคคล ๒. ทิฏฐิปัตตบุคคล ๓. สัทธาวิมุตตบุคคล บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ท่านชอบใจบุคคลจำพวกไหนซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. กายสักขีบุคคล ๒. ทิฏฐิปัตตบุคคล ๓. สัทธาวิมุตตบุคคล บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ผมชอบใจกายสักขีบุคคลซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสมาธินทรีย์ของบุคคลนี้แก่กล้ายิ่งนัก ลำดับนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิตะได้ถามปัญหานี้กับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. กายสักขีบุคคล ๒. ทิฏฐิปัตตบุคคล ๓. สัทธาวิมุตตบุคคล บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ท่านชอบใจบุคคลจำพวกไหนซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๖๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๑. สวิฏฐสูตร

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. กายสักขีบุคคล ๒. ทิฏฐิปัตตบุคคล ๓. สัทธาวิมุตตบุคคล บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ผมชอบใจทิฏฐิปัตตบุคคลซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะปัญญินทรีย์ของบุคคลนี้แก่กล้ายิ่งนัก ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับท่านพระสวิฏฐะและท่านพระมหาโกฏฐิตะ ดังนี้ว่า “พวกเราทั้งหมดต่างตอบปัญหาตามปฏิภาณของตน มาไปด้วยกันเถิด เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ กราบทูลข้อความนี้ เราจักทรงจำข้อความ ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบแก่เรา” ท่านพระสวิฏฐะและท่านพระมหาโกฏฐิตะ ตอบรับท่านพระสารีบุตรแล้ว ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระสวิฏฐะ และท่านพระมหาโกฏฐิตะเข้า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระ สารีบุตรผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลข้อสนทนาทั้งหมดกับท่านพระสวิฏฐะ และท่านพระมหาโกฏฐิตะแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ในเรื่องนี้ การตอบปัญหาโดยนัยเดียวว่า บรรดา บุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคลนี้ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ไม่ใช่จะทำได้ง่าย เพราะอาจ เป็นไปได้ว่า สัทธาวิมุตตบุคคลเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ กายสักขีบุคคล เป็นสกทาคามีหรืออนาคามี ทิฏฐิปัตตบุคคลเป็นสกทาคามีหรืออนาคามี ในเรื่องนี้ การตอบปัญหาโดยนัยเดียวว่า บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคล นี้ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ไม่ใช่จะทำได้ง่าย เพราะอาจเป็นไปได้ว่า กายสักขีบุคคล เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ สัทธาวิมุตตบุคคลเป็นสกทาคามีหรืออนาคามี ทิฏฐิปัตตบุคคลเป็นสกทาคามีหรืออนาคามี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๖๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๒. คิลานสูตร

ในเรื่องนี้ การตอบปัญหาโดยนัยเดียวว่า บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคล นี้ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ไม่ใช่จะทำได้ง่าย เพราะอาจเป็นไปได้ว่า ทิฏฐิปัตตบุคคล เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ สัทธาวิมุตตบุคคลเป็นสกทาคามีหรืออนาคามี กายสักขีบุคคลเป็นสกทาคามีหรืออนาคามี ในเรื่องนี้ การตอบปัญหาโดยนัยเดียวว่า บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคลนี้ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า ไม่ใช่จะทำได้ง่าย
สวิฏฐสูตรที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๖๖-๑๖๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=65              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=3111&Z=3166                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=460              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=460&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=2202              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=460&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=2202                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i460-e.php# https://suttacentral.net/an3.21/en/sujato https://suttacentral.net/an3.21/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :