ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๒. อาปายิกวรรค ๑๐. โมเนยยสูตร

๑๐. โมเนยยสูตร
ว่าด้วยความเป็นมุนี
[๑๒๓] ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นมุนี ๓ ประการนี้ ความเป็นมุนี ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นมุนีทางกาย ๒. ความเป็นมุนีทางวาจา ๓. ความเป็นมุนีทางใจ ความเป็นมุนีทางกาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ ไม่ประเสริฐ นี้เรียกว่า ความเป็นมุนีทางกาย ความเป็นมุนีทางวาจา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เว้นขาดจากการพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูด คำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า ความเป็นมุนีทางวาจา ความเป็นมุนีทางใจ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เรียกว่า ความเป็นมุนีทางใจ ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นมุนี ๓ ประการนี้แล ผู้ที่เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ไม่มีอาสวะ เป็นมุนี ถึงพร้อมด้วยความเป็นมุนี บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่าเป็นผู้ละได้ทุกอย่าง
โมเนยยสูตรที่ ๑๐ จบ
อาปายิกวรรคที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๖๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. กุสินารวรรค ๑. กุสินารสูตร

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อาปายิกสูตร ๒. ทุลลภสูตร ๓. อัปปเมยยสูตร ๔. อาเนญชสูตร ๕. วิปัตติสัมปทาสูตร ๖. อปัณณกสูตร ๗. กัมมันตสูตร ๘. ปฐมโสเจยยสูตร ๙. ทุติยโสเจยยสูตร ๑๐. โมเนยยสูตร


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๖๙-๓๗๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=167              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=7187&Z=7209                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=562              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=562&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6108              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=562&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6108                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i553-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an03/an03.120.than.html https://suttacentral.net/an3.122/en/sujato https://suttacentral.net/an3.122/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :