ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๑๑. นิมิตตสูตร

๑๑. นิมิตตสูตร
ว่าด้วยนิมิต
[๑๐๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิต๑- พึงมนสิการนิมิต ๓ ประการ ตามสมควรแก่เวลา คือ ๑. พึงมนสิการสมาธินิมิต๒- ตามสมควรแก่เวลา ๒. พึงมนสิการปัคคหนิมิต๓- ตามสมควรแก่เวลา ๓. พึงมนสิการอุเบกขานิมิต๔- ตามสมควรแก่เวลา ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะสมาธินิมิตอย่างเดียว เป็นไปได้ที่จิต นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะ ปัคคหนิมิตอย่างเดียว เป็นได้ที่จิตนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ถ้าภิกษุผู้ บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะอุเบกขานิมิตอย่างเดียว เป็นไปได้ที่จิตนั้นจะไม่พึง ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ แต่เมื่อใดที่ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตมนสิการสมาธินิมิต ตามสมควรแก่เวลา มนสิการปัคคหนิมิตตามสมควรแก่เวลา และมนสิการ อุเบกขานิมิตตามสมควรแก่เวลา เมื่อนั้น จิตนั้นย่อมอ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ผุดผ่อง และไม่เสียหาย ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือของช่างทองตระเตรียมเบ้า เอาคีมคีบทองใส่ ลงที่ปากเบ้า แล้วสูบลมตามสมควรแก่เวลา เอาน้ำประพรมตามสมควรแก่เวลา เพ่ง ดูตามสมควรแก่เวลา ถ้าช่างทองหรือลูกมือของช่างทองพึงสูบลมทองนั้นอย่างเดียว เป็นไปได้ที่ทองนั้นพึงไหม้ ถ้าช่างทองหรือลูกมือของช่างทองพึงเอาน้ำประพรมทอง นั้นอย่างเดียว เป็นไปได้ที่ทองนั้นพึงเย็น ถ้าช่างทองหรือลูกมือของช่างทองพึงเพ่งดู ทองนั้นอย่างเดียว เป็นไปได้ที่ทองนั้นไม่สุกทั่วถึง แต่เมื่อใด ช่างทองหรือลูกมือ @เชิงอรรถ : @ อธิจิต ในที่นี้หมายถึงสมถวิปัสสนาจิต (จิตในสมถะและวิปัสสนา) (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๓/๒๕๕) @ สมาธินิมิต หมายถึงสภาวะที่จิตแน่วแน่มีอารมณ์เดียว (เอกัคคตา) เป็นเหตุ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๓/๒๕๕) @ ปัคคหนิมิต หมายถึงความเพียรที่เป็นเหตุ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๓/๒๕๕) @ อุเบกขานิมิต หมายถึงสภาวะเป็นกลางๆ (มัชฌัตตภาวะ) ที่เป็นเหตุ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๓/๒๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๔๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๑๑. นิมิตตสูตร

ของช่างทองสูบลมทองนั้นตามสมควรแก่เวลา เอาน้ำประพรมตามสมควรแก่เวลา เพ่งดูตามสมควรแก่เวลา ทองนั้นย่อมอ่อน ใช้การได้ ผุดผ่องและไม่แตกง่าย ใช้งาน ได้ดี และช่างทองหรือลูกมือของช่างทองมุ่งหมายจะทำเครื่องประดับชนิดใดๆ คือ แผ่นทอง ต่างหู สร้อยคอ หรือมาลัยทอง ทองนั้น ย่อมอำนวยประโยชน์ให้เขาได้ แม้ฉันใด ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน พึงมนสิการนิมิต ๓ ประการ ตาม สมควรแก่เวลา คือ ๑. พึงมนสิการสมาธินิมิตตามสมควรแก่เวลา ๒. พึงมนสิการปัคคหนิมิตตามสมควรแก่เวลา ๓. พึงมนสิการอุเบกขานิมิตตามสมควรแก่เวลา ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะสมาธินิมิตอย่างเดียว เป็นได้ที่จิตนั้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะ ปัคคห นิมิตอย่างเดียว เป็นไปได้ที่จิตนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญ อธิจิตพึงมนสิการเฉพาะอุเบกขานิมิตอย่างเดียว เป็นไปได้ที่จิตนั้นจะไม่พึงตั้งมั่น ด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ แต่เมื่อใดที่ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตมนสิการสมาธินิมิตตาม สมควรแก่เวลา มนสิการปัคคหนิมิตตามสมควรแก่เวลา และมนสิการอุเบกขา- นิมิตตามสมควรแก่เวลา เมื่อนั้น จิตนั้นย่อมอ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ผุดผ่อง และไม่เสียหาย ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ และภิกษุนั้นย่อมน้อมจิตไปเพื่อ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญายิ่งใดๆ เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อมบรรลุ ความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ๑- พึงทำให้แจ้ง ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะ ประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ
นิมิตตสูตรที่ ๑๑ จบ
โลณผลวรรคที่ ๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเนื้อความเต็มในข้อ ๑๐๒ (ปังสุโธวกสูตร) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๔๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัจจายิกสูตร ๒. ปวิเวกสูตร ๓. สรทสูตร ๔. ปริสาสูตร ๕. ปฐมอาชานียสูตร ๖. ทุติยอาชานียสูตร ๗. ตติยอาชานียสูตร ๘. โปตถกสูตร ๙. โลณผลสูตร ๑๐. ปังสุโธวกสูตร ๑๑. นิมิตตสูตร
ทุติยปัณณาสก์ จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๔๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๔๕-๓๔๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=147              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=6733&Z=6783                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=542              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=542&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=5932              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=542&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=5932                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i532-e.php#sutta11 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an03/an03.100.11-15.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/03/an03-103.html https://suttacentral.net/an3.102/en/sujato https://suttacentral.net/an3.102/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :