ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๑๑. ปังกธาสูตร
ว่าด้วยตำบลปังกธา
[๙๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงตำบลของแคว้นโกศลชื่อปังกธา ทราบว่า พระผู้มีพระ ภาคประทับอยู่ ณ ตำบลปังกธาของชาวโกศลนั้น @เชิงอรรถ : @ อัปปมาณสมาธิ หมายถึงสมาธิที่สัมปยุตด้วยอรหัตตมรรค (องฺ.ติก.อ. ๒/๙๑/๒๔๕) @ ตรัสรู้ชอบ ในที่นี้หมายถึงตรัสรู้อริยสัจ ๔ (องฺ.ติก.อ. ๒/๙๑/๒๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๒๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. สมณวรรค ๑๑. ปังกธาสูตร

สมัยนั้น ภิกษุชื่อกัสสปโคตร เป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่ตำบลปังกธา ทราบมาว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วย สิกขาบท เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไป ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ ประกอบด้วยสิกขาบทอยู่ ภิกษุกัสสปโคตรได้มีความขัดใจ ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลปังกธาตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริก ไปทางกรุงราชคฤห์ เสด็จจาริกไปโดยลำดับจนถึงกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ ณ ภูเขา คิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์นั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ภิกษุกัสสปโคตรได้มีความรำคาญ เดือดร้อนใจว่า “ไม่ใช่ลาภของเราหนอ เราไม่มีลาภหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ เราได้ ไม่ดีแล้วหนอ ที่เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับ เอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ที่ประกอบด้วยสิกขาบท ได้มีความขัดใจ ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ จะเป็นการดี ถ้าเราจะพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วแสดงโทษโดย ความเป็นโทษในสำนักพระผู้มีพระภาค” ลำดับนั้น ภิกษุกัสสปโคตรเก็บเสนาสนะ ถือบาตรจีวร หลีกไปทางกรุง ราชคฤห์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบล ปังกธาของชาวโกศล ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวน ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบท เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุ เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้ สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบทอยู่ ข้าพระองค์นั้นได้มีความขัดใจ ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๒๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. สมณวรรค ๑๑. ปังกธาสูตร

ปังกธาตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปทางกรุงราชคฤห์ เมื่อพระผู้มีพระภาค เสด็จหลีกไปไม่นาน ข้าพระองค์นั้นได้มีความรำคาญเดือดร้อนใจว่า ‘ไม่ใช่ลาภของ เราหนอ เราไม่มีลาภหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ เราไม่ได้ดีแล้วหนอ ที่เมื่อพระผู้มี พระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้ อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบท เรากลับมีความขัดใจไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ จะเป็นการดี ถ้าเรา จะพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วแสดงโทษโดยความเป็นโทษในสำนัก พระผู้มีพระภาค’ โทษได้ถึงตัวข้าพระองค์ผู้โง่เขลา งมงาย ไม่ฉลาด เมื่อพระผู้มีพระ ภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบทอยู่ ข้าพระองค์ได้มีความขัดใจ ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับทราบโทษของข้าพระองค์นั้นโดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมระวังต่อไปเถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เอาละ กัสสปะ โทษได้ถึงตัวเธอผู้โง่เขลา งมงาย ไม่ฉลาด เมื่อเราให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจ หาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบท ก็เพราะเธอมีความขัดใจ ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ ได้เห็นโทษโดย ความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ฉะนั้นเราจึงรับทราบโทษนั้นของเธอ ก็การที่ บุคคลเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมระวังต่อไป นี้เป็นความเจริญในอริยวินัย ถ้าภิกษุผู้เป็นเถระไม่ใคร่ต่อการศึกษา ไม่สรรเสริญการเอาใจใส่การศึกษา เธอย่อมไม่ชักชวนภิกษุอื่นที่ไม่ใคร่ต่อการศึกษาให้ใคร่ต่อการศึกษา และไม่สรรเสริญ คุณที่มีจริงเป็นจริงของภิกษุอื่นที่ใคร่ต่อการศึกษาตามโอกาสอันสมควร เราไม่ สรรเสริญคุณของภิกษุผู้เป็นเถระเช่นนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวกภิกษุอื่นพึง คบหาเธอโดยเห็นว่า “พระศาสดาก็ยังตรัสสรรเสริญคุณของท่าน” ภิกษุพวกที่คบหา เธอพึงพากันตามอย่างเธอ ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่ภิกษุพวกที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๒๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. สมณวรรค ๑๑. ปังกธาสูตร

พากันตามอย่างเธอตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่สรรเสริญคุณของภิกษุ ผู้เป็นเถระเช่นนี้ ถ้าภิกษุผู้เป็นมัชฌิมะ ฯลฯ แม้ถ้าภิกษุผู้เป็นนวกะไม่ใคร่ต่อการศึกษา ไม่สรรเสริญการเอาใจใส่การศึกษา เธอย่อมไม่ชักชวนภิกษุอื่นที่ไม่ใคร่ต่อการศึกษา ให้ใคร่ต่อการศึกษา และไม่สรรเสริญคุณที่มีจริงเป็นจริงของภิกษุอื่นที่ใคร่ต่อการ ศึกษาตามโอกาสอันสมควร เราไม่สรรเสริญคุณของภิกษุผู้เป็นนวกะเช่นนี้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะภิกษุอื่นพึงคบหาเธอโดยเห็นว่า “พระศาสดาก็ยังตรัสสรรเสริญ คุณของท่าน” ภิกษุพวกที่คบหาเธอพึงพากันตามอย่างเธอ ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อไม่ เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่ภิกษุพวกที่พากันตามอย่างเธอตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่สรรเสริญคุณของภิกษุผู้เป็นนวกะเช่นนี้ ถ้าภิกษุผู้เป็นเถระใคร่ต่อการศึกษา สรรเสริญการเอาใจใส่การศึกษา เธอ ย่อมชักชวนภิกษุอื่นที่ไม่ใคร่ต่อการศึกษาให้ใคร่ต่อการศึกษา และสรรเสริญคุณที่มี จริงเป็นจริงของภิกษุอื่นที่ใคร่ต่อการศึกษาตามโอกาสอันสมควร เราสรรเสริญคุณ ของภิกษุผู้เป็นเถระเช่นนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวกภิกษุอื่นพึงคบหาเธอโดย เห็นว่า “พระศาสดาก็ยังตรัสสรรเสริญคุณของท่าน” ภิกษุพวกที่คบหาเธอพึงพากัน ตามอย่างเธอ ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ภิกษุพวกที่พากันตามอย่างเธอ ตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น เราจึงสรรเสริญคุณของภิกษุผู้เป็นเถระเช่นนี้ ถ้าภิกษุผู้เป็นมัชฌิมะ ฯลฯ แม้ถ้าภิกษุผู้เป็นนวกะใคร่ต่อการศึกษา สรรเสริญ การเอาใจใส่การศึกษา เธอย่อมชักชวนภิกษุอื่นที่ไม่ใคร่ต่อการศึกษาให้ใคร่ต่อการ ศึกษา และสรรเสริญคุณที่มีจริงเป็นจริงของภิกษุอื่นที่ใคร่ต่อการศึกษาตามโอกาส อันสมควร เราสรรเสริญคุณของภิกษุผู้เป็นนวกะเช่นนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ ภิกษุอื่นพึงคบหาเธอโดยเห็นว่า “พระศาสดาก็ยังตรัสสรรเสริญคุณของท่าน” ภิกษุ พวกที่คบหาเธอพึงพากันตามอย่างเธอ ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ภิกษุ พวกที่พากันตามอย่างเธอตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น เราจึงสรรเสริญคุณของ ภิกษุผู้เป็นนวกะเช่นนี้
ปังกธาสูตรที่ ๑๑ จบ
สมณวรรคที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๒๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๑. อัจจายิกสูตร

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สมณสูตร ๒. คัทรภสูตร ๓. เขตตสูตร ๔. วัชชีปุตตสูตร ๕. เสกขสูตร ๖. ปฐมสิกขาสูตร ๗. ทุติยสิกขาสูตร ๘. ตติยสิกขาสูตร ๙. ปฐมสิกขัตตยสูตร ๑๐. ทุติยสิกขัตตยสูตร ๑๑. ปังกธาสูตร


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๒๐-๓๒๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=136              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=6266&Z=6341                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=531              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=531&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=5700              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=531&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=5700                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i521-e.php#sutta11 https://suttacentral.net/an3.91/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :