ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๑๒. อนาปัตติวรรค
หมวดว่าด้วยอาบัติและอนาบัติ
[๑๕๐-๑๕๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งที่ไม่ เป็นอาบัติว่า “เป็นอาบัติ” ฯลฯ แสดงอาบัติว่า “ไม่เป็นอาบัติ” ฯลฯ แสดงอาบัติ เบาว่า “เป็นอาบัติหนัก” ฯลฯ แสดงอาบัติหนักว่า “เป็นอาบัติเบา” ฯลฯ แสดง อาบัติชั่วหยาบว่า “เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ” ฯลฯ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า “เป็น อาบัติชั่วหยาบ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่า “เป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ”๑- ฯลฯ แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่า “เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ทำคืน ได้ว่า “เป็นอาบัติที่ทำคืนไม่ได้” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ทำคืนไม่ได้ว่า “เป็นอาบัติที่ทำ คืนได้” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุ เหล่านั้นย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก และทำให้สัทธรรมนี้สูญหายไป (๑๐) @เชิงอรรถ : @ อาบัติที่มีส่วนเหลือ คือ สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต @ส่วนอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ คือ ปาราชิก (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๕๐/๘๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๓. เอกปุคคลวรรค

[๑๖๐] ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งที่ไม่เป็นอาบัติว่า “ไม่เป็นอาบัติ” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก และ ดำรงสัทธรรมนี้ไว้ได้ (๑๑) [๑๖๑] ภิกษุพวกที่แสดงอาบัติว่า “เป็นอาบัติ” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คน หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก และดำรง สัทธรรมนี้ไว้ได้ (๑๒) [๑๖๒-๑๖๙] ภิกษุพวกที่แสดงอาบัติเบาว่า “เป็นอาบัติเบา” ฯลฯ แสดง อาบัติหนักว่า “เป็นอาบัติหนัก” ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า “เป็นอาบัติชั่วหยาบ” ฯลฯ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า “เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่มีส่วน เหลือว่า “เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่า “เป็น อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ทำคืนได้ว่า “เป็นอาบัติที่ทำคืนได้” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ทำคืนไม่ได้ว่า “เป็นอาบัติที่ทำคืนไม่ได้” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก และดำรง สัทธรรมนี้ไว้ได้ (๒๐)
อนาปัตติวรรคที่ ๑๒ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๑-๒๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=12              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=556&Z=584                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=135              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=135&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=14&A=2000              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=135&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=14&A=2000                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i135-e.php# https://suttacentral.net/an1.150-169/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :