ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๖. สุราปานวรรค ๔. อนาทริยสิกขาบท นิทานวัตถุ

๖. สุราปานวรรค
๔. อนาทริยสิกขาบท
ว่าด้วยความไม่เอื้อเฟื้อต่อคำตักเตือน
เรื่องพระฉันนะ
[๓๔๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขต กรุงโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะประพฤติไม่สมควร ภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือน อย่างนี้ว่า “ท่านฉันนะ ท่านอย่ากระทำอย่างนั้น การกระทำเช่นนี้ไม่สมควร” ท่าน ไม่เอื้อเฟื้อยังขืนทำเหมือนเดิม บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน พระฉันนะจึงไม่เอื้อเฟื้อเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระฉันนะโดยประการ ต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามท่านพระฉันนะว่า “ฉันนะ ทราบว่า เธอไม่เอื้อเฟื้อ จริงหรือ” ท่านพระ ฉันนะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงไม่เอื้อเฟื้อเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่ เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๓๔๑] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะไม่เอื้อเฟื้อ
เรื่องพระฉันนะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๗๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๖. สุราปานวรรค ๔. อนาทริยสิกขาบท บทภาชนีย์

สิกขาบทวิภังค์
[๓๔๒] ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อ ได้แก่ ความไม่เอื้อเฟื้อ ๒ อย่าง คือ (๑) ความไม่เอื้อเฟื้อต่อบุคคล (๒) ความไม่เอื้อเฟื้อต่อธรรม ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อต่อบุคคล ได้แก่ ภิกษุถูกอุปสัมบันตักเตือนด้วยพระ บัญญัติ ไม่เอื้อเฟื้อด้วยกล่าวว่า “ผู้นี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ถูกสงฆ์ดูหมิ่นหรือ ถูกสงฆ์ตำหนิ คำพูดของผู้นี้ไม่น่าทำตาม” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อต่อธรรม ได้แก่ ภิกษุถูกอุปสัมบันตักเตือนด้วย พระบัญญัติ ไม่เอื้อเฟื้อด้วยกล่าวว่า “จะทำอย่างไร ธรรมข้อนี้พึงเสื่อม พึงสูญ หรือพึงอันตรธานไป” หรือว่าเธอไม่ประสงค์จะศึกษาพระบัญญัตินั้น จึงไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๔๓] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุอันอุปสัมบันตักเตือนด้วยเรื่องที่ไม่ใช่พระบัญญัติ ไม่เอื้อเฟื้อด้วยกล่าวว่า “เรื่องนี้ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา ไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด ไม่เป็นไปเพื่อความเป็น ผู้น่าเลื่อมใส ไม่เป็นไปเพื่อความไม่ก่อ๑- ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร” ต้องอาบัติ ทุกกฏ @เชิงอรรถ : @ อปจยายาติ สพฺพสฺสปิ วฏฺฏสฺส อปจยตฺถาย, นิพฺพานายาติ อตฺโถ ความไม่ก่อ คือ ไม่ก่อวัฏฏะ ได้แก่ @เพื่อนิพพาน (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๔๐๖/๕๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๗๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๖. สุราปานวรรค ๔. อนาทริยสิกขาบท อนาปัตติวาร

ภิกษุอันอนุปสัมบันตักเตือนด้วยพระบัญญัติหรือไม่ใช่พระบัญญัติ ไม่เอื้อเฟื้อ ด้วยกล่าวว่า “เรื่องนี้ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา ไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด ไม่เป็น ไปเพื่อความเป็นผู้น่าเลื่อมใส ไม่เป็นไปเพื่อความไม่ก่อ ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความ เพียร” ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๓๔๔] ๑. ภิกษุผู้กล่าวว่า “อาจารย์ของพวกเราเรียนกันมา สอบถามกันมาอย่างนี้” ๒. ภิกษุวิกลจริต ๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
อนาทริยสิกขาบทที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๗๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๔๗๓-๔๗๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=90              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=12096&Z=12147                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=592              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=592&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=9565              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=592&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=9565                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc54/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc54/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :