ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. โภชนวรรค ๘. สันนิธิการกสิกขาบท นิทานวัตถุ

๔. โภชนวรรค
๘. สันนิธิการกสิกขาบท
ว่าด้วยการสะสมโภชนะ
เรื่องพระเวฬัฏฐสีสะ
[๒๕๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระเวฬัฏฐสีสะ พระอุปัชฌาย์ ของท่านพระอานนท์อยู่ในป่า ท่านเที่ยวบิณฑบาตได้มากมาย เอาข้าวสุกเปล่าไป ตากแห้งเก็บไว้ที่อาราม คราวที่ต้องการภัตตาหารก็นำมาแช่น้ำแล้วฉัน นานๆ จึง จะเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกับท่านพระเวฬัฏฐสีสะดังนี้ว่า “ท่าน ทำไมนานๆ ท่านจึงเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน” ลำดับนั้น ท่านพระเวฬัฏฐสีสะจึงแจ้งเรื่องนั้นให้ ภิกษุทั้งหลายทราบ ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่าน ท่านฉันอาหารที่เก็บสะสมไว้หรือ” ท่านตอบว่า “ใช่ ขอรับ” บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า“ไฉนท่าน พระเวฬัฏฐสีสะจึงฉันโภชนะที่เก็บสะสมไว้เล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่านพระ เวฬัฏฐสีสะโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุทรง สอบถามท่านพระเวฬัฏฐสีสะว่า “เวฬัฏฐสีสะ ทราบว่า เธอฉันโภชนะที่เก็บสะสมไว้ จริงหรือ” พระเถระทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ เวฬัฏฐสีสะ ไฉนเธอจึงฉันโภชนะที่เก็บสะสมไว้เล่า เวฬัฏฐสีสะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๐๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. โภชนวรรค ๘. สันนิธิการกสิกขาบท บทภาชนีย์

การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้ เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๒๕๓] ก็ ภิกษุใดเคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉันที่เก็บสะสมไว้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระเวฬัฏฐสีสะ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๕๔] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ของที่เก็บสะสมไว้ คือ ของที่ภิกษุรับประเคนในวันนี้แล้วฉันในวันอื่น ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส ข้าวตู ปลา เนื้อ ภิกษุรับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำกลืน
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๕๕] ของเก็บสะสมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของเก็บสะสมไว้ เคี้ยวของเคี้ยว หรือฉันของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๐๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. โภชนวรรค ๘. สันนิธิการกสิกขาบท อนาปัตติวาร

ของเก็บสะสมไว้ ภิกษุไม่แน่ใจ เคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉัน ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ ของเก็บสะสมไว้ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ของเก็บสะสมไว้ เคี้ยวของเคี้ยวหรือฉัน ของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุรับประเคนยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิกไว้เป็นอาหาร ต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำกลืน มิใช่ของเก็บสะสมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของเก็บสะสมไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ มิใช่ของเก็บสะสมไว้ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ มิใช่ของเก็บสะสมไว้ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่เป็นของเก็บสะสมไว้ ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๒๕๖] ๑. ภิกษุเก็บของที่เป็นยาวกาลิกไว้ฉันชั่วกาล ๒. ภิกษุเก็บของที่เป็นยามกาลิกไว้ฉันชั่วยาม๑- ๓. ภิกษุเก็บของที่เป็นสัตตาหกาลิกไว้ฉันชั่วสัปดาห์ ๔. ภิกษุฉันของที่เป็นยาวชีวิกเมื่อมีเหตุผลสมควร ๕. ภิกษุวิกลจริต ๖. ภิกษุต้นบัญญัติ
สันนิธิการกสิกขาบทที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ ชั่วกาล คือชั่วเวลาเที่ยงวัน, ชั่วยาม คือชั่วปัจฉิมยาม (วิ.อ. ๒/๒๕๖/๓๗๘, ดูเชิงอรรถ ข้อ ๒๓๙ หน้า ๓๙๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๐๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๔๐๗-๔๐๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=74              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=10932&Z=10988                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=512              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=512&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=8870              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=512&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=8870                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc38/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :