ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. ภูตคามวรรค ๕. ทุติยเสนาสนสิกขาบท นิทานวัตถุ

๒. ภูตคามวรรค
๕. ทุติยเสนาสนสิกขาบท
ว่าด้วยเสนาสนะข้อที่ ๒
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์
[๑๑๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เป็นสหาย กัน ภิกษุเหล่านั้นเมื่อจะอยู่ก็อยู่ด้วยกัน เมื่อจะจากไปก็จากไปพร้อมกัน พวกท่านปู ที่นอนในวิหารของสงฆ์แห่งหนึ่ง เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ ไม่ใช้ให้เก็บที่นอนนั้น ไม่ บอกมอบหมาย พากันจากไป เสนาสนะถูกตัวปลวกกัด บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ปูที่นอนในวิหารของ สงฆ์แล้ว เมื่อจะจากไปไม่เก็บ ไม่ใช้ให้เก็บที่นอนนั้น ไม่บอกมอบหมาย พากันจาก ไปจนเสนาสนะถูกตัวปลวกกัดเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนั้นไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ปูที่นอน ในวิหารของสงฆ์แล้วเมื่อจะจากไป ไม่เก็บ ไม่ใช้ให้เก็บที่นอนนั้น ไม่บอกมอบหมาย พากันจากไป จนเสนาสนะถูกตัวปลวกกัด จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉน โมฆบุรุษเหล่านั้นปูที่นอนในวิหารของสงฆ์แล้ว เมื่อจะจากไป จึงไม่เก็บ ไม่ใช้ให้เก็บ ไม่บอกมอบหมาย พากันจากไปจนเสนาสนะถูกตัวปลวกกัดเล่า ภิกษุทั้งหลาย การ กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๙๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. ภูตคามวรรค ๕. ทุติยเสนาสนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ
[๑๑๕] ก็ ภิกษุใดปูหรือใช้ให้ปูที่นอนในวิหารของสงฆ์ เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บที่นอนนั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ วิหารที่ชื่อว่า ของสงฆ์ ได้แก่ วิหารที่มีผู้ถวาย บริจาคแก่สงฆ์ ที่ชื่อว่า ที่นอน ได้แก่ ฟูก ผ้าปูรักษาผิวพื้น ผ้าปูเตียง ผ้าปูพื้น เสื่ออ่อน ท่อนหนัง ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน เครื่องปูทำด้วยหญ้า เครื่องปูทำด้วยใบไม้ คำว่า ปู คือ ปูด้วยตนเอง คำว่า ใช้ให้ปู คือ ใช้ผู้อื่นให้ปู คำว่า เมื่อจะจากไปไม่เก็บ...ที่นอนนั้น คือ ไม่เก็บด้วยตนเอง คำว่า ไม่ใช้ให้เก็บ คือ ไม่ใช้ผู้อื่นให้เก็บ คำว่า หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ความว่า ภิกษุไม่บอกมอบหมาย ภิกษุ สามเณรหรือคนวัด เดินล่วงเลยเครื่องล้อมอารามที่มีรั้วล้อมไว้ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ เดินล่วงเลยอุปจารอารามที่ไม่มีรั้วล้อมไว้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๙๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. ภูตคามวรรค ๕. ทุติยเสนาสนสิกขาบท บทภาชนีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ ปูหรือใช้ให้ปูที่นอน เมื่อจะจาก ไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บที่นอนนั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ วิหารของสงฆ์ ภิกษุไม่แน่ใจ ปูหรือใช้ให้ปูที่นอน เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ หรือ ไม่ใช้ให้เก็บที่นอนนั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล ปูหรือใช้ให้ปูที่นอน เมื่อจะ จากไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บที่นอนนั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์
ทุกกฏ
[๑๑๗] ภิกษุปูหรือใช้ให้ปูที่นอนไว้ ในอุปจารวิหาร ในโรงฉัน ในมณฑป หรือที่โคนไม้ เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บที่นอนนั้น หรือไม่บอกมอบ หมาย ไปเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุจัดตั้งไว้ หรือใช้ให้จัดตั้งเตียงหรือตั่งไว้ในวิหาร ในอุปจารวิหาร ในโรงฉัน ในมณฑป หรือที่โคนไม้ เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บเตียงหรือตั่งนั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ วิหารส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ วิหารส่วนบุคคล ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ วิหารส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ เป็นของส่วนบุคคลของผู้อื่น วิหารเป็นของส่วนบุคคลของตน ไม่ต้องอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๙๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. ภูตคามวรรค ๕. ทุติยเสนาสนสิกขาบท อนาปัตติวาร

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๑๘] ๑. ภิกษุเก็บไว้แล้วจึงไป ๒. ภิกษุใช้ให้เก็บไว้แล้วจึงไป ๓. ภิกษุบอกมอบหมายไว้แล้วจึงไป ๔. ภิกษุผู้ไม่เก็บเสนาสนะที่มีเหตุบางอย่างขัดขวาง ๕. ภิกษุเกิดห่วงใยไปยืนในที่นั้นบอกมอบหมาย ๖. ภิกษุผู้มีเหตุบางอย่างขัดขวาง ๗. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๘. ภิกษุวิกลจริต ๙. ภิกษุต้นบัญญัติ
ทุติยเสนาสนสิกขาบทที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๙๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๒๙๕-๒๙๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=51              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=8882&Z=8951                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=379              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=379&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=7131              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=379&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=7131                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc15/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :