ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท นิทานวัตถุ

๑. มุสาวาทวรรค
๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท
ว่าด้วยการนอนร่วมกันข้อที่ ๒
เรื่องพระอนุรุทธะ
[๕๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะเดินทางไปกรุงสาวัตถี แคว้นโกศล ถึงหมู่บ้านตำบลหนึ่งในเวลาเย็น สมัยนั้น มีหญิงคนหนึ่งจัดสร้างเรือน พักแรมไว้ในหมู่บ้านนั้น ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะเข้าไปหาหญิงนั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึง แล้วได้กล่าวกับหญิงนั้นดังนี้ว่า “น้องหญิง ถ้าเธอไม่ลำบากใจ อาตมาขอพักใน เรือนพักแรมสัก ๑ คืน” นางกล่าวว่า “นิมนต์ท่านพักเถิด เจ้าข้า” ฝ่ายพวกคนเดินทางเหล่าอื่นก็ได้เข้าไปหาหญิงนั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าว กับหญิงนั้นดังนี้ว่า “คุณนายขอรับ หากคุณนายไม่ลำบากใจ พวกเราขอพักในเรือน พักแรมสัก ๑ คืน” นางกล่าวว่า “หากพระคุณเจ้าผู้เข้ามาก่อนอนุญาต ก็เชิญพวกท่านพักแรมได้” พวกคนเดินทางจึงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วจึงกล่าวกับ ท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่านขอรับ ถ้าท่านไม่ลำบากใจ พวกกระผมขอพักใน เรือนพักแรมสัก ๑ คืน” ท่านพระอนุรุทธะกล่าวว่า “เชิญท่านทั้งหลายพักเถิด” ครั้งนั้นแล หญิงนั้นมีจิตรักใคร่ในท่านพระอนุรุทธะตั้งแต่แรกเห็น ดังนั้น นาง จึงเข้าไปหาพระเถระถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วจึงกล่าวกับท่านว่า “พระคุณเจ้าอยู่ปะปน กับคนพวกนี้ไม่สะดวก ทางที่ดี ดิฉันควรจัดเตียงข้างในห้องถวายพระคุณเจ้า” ท่านพระอนุรุทธะรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๔๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท นิทานวัตถุ

ครั้นแล้ว นางจึงจัดเตียงข้างในห้องถวายด้วยตนเอง แล้วแต่งตัว ประพรม เครื่องหอม เข้าไปหาพระเถระถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วจึงกล่าวกับท่านพระอนุรุทธะนั้น ดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า พระคุณเจ้ารูปงาม น่าดู น่าชม ส่วนดิฉันก็รูปงาม น่าดู น่าชม ทางที่ดี ดิฉันควรเป็นภรรยาของพระคุณเจ้า” เมื่อนางกล่าวอย่างนี้ ท่าน พระอนุรุทธะได้นิ่งเสีย แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ หญิงนั้นก็กล่าวกับท่าน พระอนุรุทธะนั้นดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า พระคุณเจ้ารูปงาม น่าดู น่าชม ส่วนดิฉัน ก็รูปงาม น่าดู น่าชม ทางที่ดี ขอให้พระคุณเจ้ารับตัวดิฉันและสมบัติทั้งปวงเถิด” แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอนุรุทธะก็ได้นิ่งเสีย ลำดับนั้น นางจึงเปลื้องผ้าออก เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้างต่อหน้า พระเถระ ทีนั้น พระเถระสำรวมอินทรีย์ ไม่แลดู ไม่พูดกับนาง หญิงนั้นคิดว่า น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี คนส่วนมากส่งทรัพย์มาให้เรา ๑๐๐ กหาปณะบ้าง ๑,๐๐๐ กหาปณะบ้าง แต่พระสมณะรูปนี้เราอ้อนวอน ก็ยังไม่ ปรารถนาที่จะรับตัวเราและสมบัติทั้งปวง จึงนุ่งผ้าแล้วน้อมศีรษะลงแทบเท้าท่าน พระอนุรุทธะ ขอขมาว่า “พระคุณเจ้า ดิฉันได้กระทำความผิดเพราะความโง่เขลาเบา ปัญญา ที่ได้กระทำอย่างนี้ ขอพระคุณเจ้าจงให้อภัยโทษแก่ดิฉันเพื่อสำรวมต่อไป” พระเถระกล่าวว่า “น้องหญิง เอาเถิด การที่เธอได้ทำความผิดไปเพราะความโง่ เขลาเบาปัญญา ที่ได้กระทำอย่างนี้เพราะเหตุที่เห็นความผิดเป็นความผิด แล้วแก้ไข ให้ถูกต้อง ข้อนั้นอาตมายอมรับ เพราะการที่บุคคลเห็นความผิดเป็นความผิดแล้ว แก้ไขให้ถูกต้องและสำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ” ครั้นราตรีนั้นผ่านพ้นไป หญิงนั้นได้เอาของเคี้ยวของฉันอย่างดีประเคนท่าน พระอนุรุทธะด้วยตนเอง กระทั่งท่านพระอนุรุทธะฉันเสร็จ ละมือจากบาตร จึง อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระอนุรุทธะได้ชี้แจงให้หญิงนั้นผู้นั่งอยู่ ณ ที่สมควร เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๔๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท พระบัญญัติ

ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น หญิงนั้นซึ่งท่านพระอนุรุทธะได้ชี้แจงให้เห็น ชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้ สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กล่าวกับท่านพระอนุรุทธะว่า “พระคุณเจ้า ภาษิต ของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระคุณเจ้า ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระ คุณเจ้าประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีตาดี จักเห็นรูป พระคุณเจ้า ดิฉันนี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นพร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระคุณเจ้าจงทรงจำดิฉันว่าเป็นอุบาสิกาผู้ถึงสรณะ ตั้ง แต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” จากนั้นพระเถระเดินทางไปกรุงสาวัตถีแล้วแจ้งเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน พระอนุรุทธะจึงนอนร่วมกับมาตุคามเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอนุรุทธะ โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามท่านพระอนุรุทธะว่า “อนุรุทธะ ทราบว่า เธอนอนร่วมกับมาตุคาม จริง หรือ” ท่านพระอนุรุทธะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ อนุรุทธะ ไฉนเธอจึงนอนร่วมกับมาตุคามเล่า อนุรุทธะ การ กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๕๖] ก็ ภิกษุใดนอนร่วมกันกับมาตุคาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระอนุรุทธะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๔๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท บทภาชนีย์

สิกขาบทวิภังค์
[๕๗] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่ สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย หญิงมนุษน์นั้นโดยที่สุดกระทั่งเด็กหญิงซึ่งเกิดในวันนั้น หญิง โตกว่านี้ไม่ต้องกล่าวถึง คำว่า ร่วมกัน คือ ด้วยกัน ที่ชื่อว่า ที่นอน ได้แก่ ที่นอนมีเครื่องมุงทั้งหมด มีเครื่องบังทั้งหมด หรือมี เครื่องมุงส่วนมาก มีเครื่องบังส่วนมาก คำว่า นอน ความว่า เมื่อดวงอาทิตย์อัสดง เมื่อมาตุคามนอน ภิกษุก็นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อภิกษุนอน มาตุคามก็นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือทั้ง ภิกษุและมาตุคามนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุลุกขึ้นแล้วกลับไปนอนอีก ต้อง อาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๘] มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าเป็นมาตุคาม นอนร่วมกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ มาตุคาม ภิกษุไม่แน่ใจ นอนร่วมกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม นอนร่วมกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ที่นอนมีเครื่องมุงครึ่งเดียว มีเครื่องบังครึ่งเดียว ภิกษุนอนร่วมกัน ต้องอาบัติ ทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๔๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท อนาปัตติวาร

ภิกษุนอนร่วมกันกับนางยักษ์ นางเปรต บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าเป็นมาตุคาม ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๕๙] ๑. ภิกษุนอนร่วมกันในที่นอนมีเครื่องมุงทั้งหมด แต่ไม่มีเครื่องบังทั้งหมด ๒. ภิกษุนอนร่วมกันในที่นอนมีเครื่องบังทั้งหมด แต่ไม่มีเครื่องมุงทั้งหมด ๓. ภิกษุนอนร่วมกันในที่นอนไม่มีเครื่องมุงส่วนมาก ไม่มีเครื่องบังส่วนมาก ๔. ภิกษุนั่ง ในเมื่อมาตุคามนอน ๕. ภิกษุนอน มาตุคามนั่ง ๖. ภิกษุนั่งและมาตุคามก็นั่ง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
ทุติยสหเสยยสิกขาบทที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๔๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๒๔๑-๒๔๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=42              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=7250&Z=7351                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=294              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=294&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=6360              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=294&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=6360                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc6/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :