ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๖. สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑

๖. สุรุสุรุวรรค
หมวดว่าด้วยการฉันดังซู้ดๆ
สิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระรูปหนึ่ง
[๖๒๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุง โกสัมพี ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งปรุงน้ำนมถวายสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายดื่มน้ำนมเสียง ดังซู้ดๆ ภิกษุผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปหนึ่งกล่าวอย่างนี้ว่า “สงฆ์นี้ทั้งหมด คงจะหนาว กระมัง” บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ จึงล้อเลียนสงฆ์เล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอล้อเลียนสงฆ์ จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับ ว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงล้อเลียนสงฆ์เล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้ เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว จึงทรงแสดงธรรมีกถา แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำ การล้อเลียนปรารภพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ภิกษุใดพึงทำ ต้องอาบัติทุกกฏ” ทีนั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่างๆ แล้ว ตรัสโทษแห่ง ความเป็นคนเลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๐๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๖. สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑

พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงดังซู้ดๆ
เรื่องพระรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันทำเสียงดังซู้ดๆ ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันทำเสียงดังซู้ดๆ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๐๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๖. สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๒

สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันเลียมือ ฯลฯ
พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันเลียมือ ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียมือ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๐๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๖. สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๓

สิกขาบทที่ ๓
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันเลียบาตร ฯลฯ
พระบัญญัติ
๓. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันเลียบาตร
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันเลียบาตร ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียบาตร ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุกวาดข้าวสุกที่เหลือน้อยรวมกันแล้วฉัน ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๐๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๖. สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๔

สิกขาบทที่ ๔
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันเลียริม ฝีปาก ฯลฯ
พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันเลียริมฝีปาก ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียริมฝีปาก ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๐๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๖. สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๕

สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระหลายรูป
[๖๓๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกฬามฤคทายวัน เขตเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ครั้งนั้น ภิกษุใช้มือเปื้อนอาหารจับภาชนะน้ำดื่ม ที่ปราสาทโกกนท พวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะ เชื้อสายศากยบุตรจึงใช้มือเปื้อนอาหารจับภาชนะน้ำดื่ม เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภค กามเล่า” ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้ มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุจึงใช้มือเปื้อนอาหาร จับภาชนะน้ำดื่มเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่างๆ แล้ว จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุใช้มือเปื้อนอาหารจับ ภาชนะน้ำดื่มจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระ ภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงใช้มือ เปื้อนอาหารจับภาชนะน้ำดื่มเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่จับภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อนอาหาร
เรื่องพระหลายรูป จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๐๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๖. สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๕

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงจับภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อนอาหาร ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ จับภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อนอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุรับประเคนไว้เพราะคิดจะล้างเองหรือใช้ผู้อื่นล้าง ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๐๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๖. สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๖

สิกขาบทที่ ๖
เรื่องพระหลายรูป
[๖๓๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกฬามฤคทายวัน เขตเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายเทน้ำล้างบาตรที่มีเมล็ดข้าว ในละแวกบ้าน ใกล้โกกนทปราสาท พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนา ว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงเทน้ำล้างบาตรที่มีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า” พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงเทน้ำล้างบาตร ที่มีเมล็ดข้าวในละแวกบ้านเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการ ต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุเทน้ำล้างบาตรมี เมล็ดข้าวในละแวกบ้าน จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงเทน้ำล้างบาตรที่มีเมล็ดข้าวในละแวกบ้านเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เทน้ำล้างบาตรที่มีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน
เรื่องพระหลายรูป จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๑๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๖. สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๖

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงเทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุเก็บเมล็ดข้าวออก แล้วเทน้ำล้างบาตรหรือขยี้เมล็ดข้าวให้ ละลายหรือเทน้ำล้างบาตรในกระโถนนำไปเทข้างนอก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๑๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๖. สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๗

สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่ คนผู้กั้นร่ม บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงแสดงธรรมแก่คนผู้กั้นร่มเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอแสดงธรรมแก่ คนผู้กั้นร่มจริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงแสดง ธรรมแก่คนผู้กั้นร่มเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่ เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนกั้นร่ม
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๖๓๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายยำเกรงที่จะแสดงธรรมแก่คนไข้ผู้กั้นร่ม พวก ชาวบ้านจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร จึงไม่แสดงธรรมแก่คนไข้ผู้กั้นร่มเล่า” พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๑๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๖. สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๗

ทรงอนุญาตให้แสดงธรรมแก่คนไข้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แสดงธรรมแก่คนไข้ผู้กั้นร่มได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้กั้นร่ม
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ร่ม ได้แก่ ร่ม ๓ ชนิด คือ (๑) ร่มผ้าขาว (๒) ร่มเสื่อลำแพน (๓) ร่ม ใบไม้ที่เย็บเป็นวงผูกติดกับซี่ ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ พุทธภาษิต สาวกภาษิต ฤๅษีภาษิต เทวดาภาษิตที่ ประกอบด้วยอรรถ ที่ประกอบด้วยธรรม บทว่า แสดง คือ ภิกษุแสดงเป็นบท ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ บท แสดงเป็น อักษร ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ อักษร ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้กั้นร่ม ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้กั้นร่ม ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๑๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๖. สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๘

สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรม แก่คนถือไม้พลอง ฯลฯ
พระบัญญัติ
๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถือไม้พลอง
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ไม้พลอง ได้แก่ ไม้พลองยาว ๔ ศอก ขนาดศอกของคนสัณฐาน ปานกลาง ยาวกว่านั้นไม่ใช่ไม้พลอง สั้นกว่านั้น ก็ไม่ใช่ไม้พลอง ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ถือไม้พลอง ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถือไม้พลอง ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๑๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๖. สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๙

สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่ คนถือศัสตรา ฯลฯ
พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถือศัสตรา
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ศัสตรา ได้แก่ เครื่องประหารมีคมข้างเดียว มีคม ๒ ข้าง ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ถือศัสตรา ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ถือศัสตรา ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๑๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๖. สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่ คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถืออาวุธ ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถืออาวุธ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถืออาวุธ ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถืออาวุธ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
สุรุสุรุวรรคที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๑๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๗๐๓-๗๑๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=140              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=15882&Z=16093                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=851              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=851&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10526              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=851&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10526                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk51 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk52 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk53 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk54 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk55 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk56 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk57 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk58 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk59 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk60



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :