ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๘. สหธรรมิกวรรค ๑๐. ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบท นิทานวัตถุ

๘. สหธรรมิกวรรค
๑๐. ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบท
ว่าด้วยการไม่ให้ฉันทะแล้วไปเสีย
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๗๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น สงฆ์ประชุมกันด้วยกรณียกิจบาง อย่าง พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มัวตัดเย็บจีวรอยู่ จึงได้มอบฉันทะให้ภิกษุรูปหนึ่งไป ต่อมา สงฆ์ตั้งญัตติว่า “สงฆ์ประชุมกันเพื่อประโยชน์แก่กรรมใด พวกเราจักทำกรรมนั้น” ลำดับนั้น ภิกษุรูปนั้นได้กล่าวว่า “ภิกษุเหล่านี้ทำกรรมแก่ภิกษุแต่ละรูป อย่างนี้ พวกท่านจะทำกรรมแก่ใครกันเล่า” ไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะจากไป บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ เมื่อยังมีเรื่องที่ต้องวินิจฉัยอยู่ในสงฆ์ จึงไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะจากไปเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอเมื่อยังมีเรื่องที่ต้องวินิจฉัยอยู่ในสงฆ์ ไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะจากไป จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระ พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอ เมื่อ ยังมีเรื่องที่ต้องวินิจฉัยอยู่ในสงฆ์ จึงไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะจากไปเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใส อยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๗๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๘. สหธรรมิกวรรค ๑๐. ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบท บทภาชนีย์

พระบัญญัติ
[๔๘๐] ก็ ภิกษุใด เมื่อยังมีเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในสงฆ์ ไม่ให้ฉันทะแล้ว ลุกจากอาสนะจากไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๘๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า เรื่องที่ต้องวินิจฉัยในสงฆ์ ได้แก่ (๑) เรื่องที่โจทก์แจ้งไว้ แต่ยังไม่ได้ วินิจฉัย (๒) เรื่องที่ตั้งญัตติไว้แล้ว (๓) กรรมวาจายังสวดค้างอยู่ คำว่า ไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะจากไป คือ ภิกษุไปด้วยตั้งใจว่า “ทำอย่างไร กรรมนี้พึงเสียหาย จะพึงแยกพวกกัน พึงทำไม่ได้” ต้องอาบัติทุกกฏ กำลังละหัตถบาสที่ชุมนุมสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ ละหัตถบาสไปแล้ว ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
[๔๘๒] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่ให้ฉันทะ ลุกจากอาสนะจากไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่ให้ฉันทะ ลุกจากอาสนะจากไป ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๗๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๘. สหธรรมิกวรรค ๑๐. ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบท อนาปัตติวาร

กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่ให้ฉันทะ ลุกจากอาสนะจากไป ไม่ต้องอาบัติ
ทุกกฎ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๔๘๓] ๑. ภิกษุจากไปด้วยคิดว่า “สงฆ์จักมีความบาดหมาง ทะเลาะ ขัดแย้งหรือวิวาทกัน” ๒. ภิกษุจากไปด้วยคิดว่า “สงฆ์จักแตกแยก จักร้าวราน” ๓. ภิกษุจากไปด้วยคิดว่า “สงฆ์จักทำกรรมโดยไม่เป็นธรรม แยก พวกกันทำ หรือทำแก่ภิกษุผู้ไม่ควรแก่กรรม” ๔. ภิกษุเป็นไข้จึงจากไป ๕. ภิกษุจากไปด้วยกิจที่จำเป็นของภิกษุผู้เป็นไข้ ๖. ภิกษุปวดอุจจาระปวดปัสสาวะแล้วจากไป ๗. ภิกษุไม่ตั้งใจทำให้กรรมเสีย จากไปด้วยคิดว่าจะกลับมาอีก ๘. ภิกษุวิกลจริต ๙. ภิกษุต้นบัญญัติ
ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๗๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๕๗๔-๕๗๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=116              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=13848&Z=13901                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=719              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=719&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10111              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=719&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10111                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc80/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc80/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :