ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๗. สัปปาณกวรรค ๖. เถยยสัตถสิกขาบท นิทานวัตถุ

๗. สัปปาณกวรรค
๖. เถยยสัตถสิกขาบท
ว่าด้วยการเดินทางไกลร่วมกับพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๔๐๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พ่อค้าเกวียนกลุ่มหนึ่งต้องการ จะเดินทางจากกรุงราชคฤห์ไปถิ่นย้อนแสง๑- ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับคนเหล่านั้น ดังนี้ว่า “อาตมาจะเดินทางร่วมไปกับพวกท่าน” พวกพ่อค้าเกวียนกล่าวว่า “พระคุณเจ้า พวกกระผมจะเลี่ยงภาษีขอรับ” เจ้าหน้าที่เก็บภาษีทราบข่าวว่า “พวกพ่อค้าเกวียนจะเลี่ยงภาษี” จึงดักซุ่มใน หนทาง ครั้นเจ้าหน้าที่เก็บภาษีจับพวกพ่อค้าเกวียนหมู่นั้น ริบของแล้วได้กล่าวกับ ภิกษุนั้นว่า “พระคุณเจ้า ท่านรู้อยู่ เหตุไรจึงเดินทางร่วมกันกับกลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้ เป็นโจรเล่า” ไต่สวนแล้วปล่อยไป ครั้นภิกษุนั้นไปถึงกรุงสาวัตถีจึงแจ้งเรื่องนี้ให้ภิกษุ ทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน ภิกษุรู้อยู่จึงชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับกลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจรเล่า” ครั้น ภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ @เชิงอรรถ : @ ปฏิยาโลกํ ถิ่นย้อนแสง สูริยาโลกํ ปฏิมุขํ คือ ย้อนแสงตะวัน ปจฺฉิมทิสํ ได้แก่ ทิศตะวันตก @(วิ.อ. ๒/๔๐๗/๔๑๗) พระวินัยปิฎกฉบับ “PALI TEXT SOCIETY” แปลว่า ถิ่นที่อยู่ทางทิศใต้กรุงราชคฤห์ @(The Book of the Discipline, Vol. III, P. 15.) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๑๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๗. สัปปาณกวรรค ๖. เถยยสัตถสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอรู้อยู่ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับ กลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอรู้อยู่ยังชักชวนกัน เดินทางไกลร่วมกันกับกลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจรเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๔๐๘] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับกลุ่มพ่อค้าเกวียน ผู้เป็นโจร โดยที่สุดแม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๐๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า รู้อยู่ ได้แก่ ภิกษุรู้เอง คนเหล่าอื่นบอกภิกษุนั้น ที่ชื่อว่า กลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ได้แก่ พวกโจรผู้เคยทำการปล้นแล้ว หรือยังไม่เคยทำการปล้น ผู้ลักของหลวงหรือเลี่ยงภาษี คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน คำว่า ชักชวนกัน คือ ชักชวนว่า “พวกเราไปกันเถิด ท่าน พวกเราไปกัน เถิด ท่านผู้เจริญ ไปกันเถิด ท่านผู้เจริญ พวกเราไปกันเถิด ท่าน พวกเราจะไปวันนี้ พรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้” ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๑๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๗. สัปปาณกวรรค ๖. เถยยสัตถสิกขาบท อนาปัตติวาร

คำว่า โดยที่สุดแม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง คือ หมู่บ้านหนึ่งกำหนดชั่วไก่ บินตก ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ ละแวกหมู่บ้าน ในป่าที่ไม่มีหมู่บ้าน ภิกษุ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ ระยะกึ่งโยชน์
บทภาชนีย์
[๔๑๐] กลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ภิกษุสำคัญว่าเป็นกลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้ เป็นโจร ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันโดยที่สุดแม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ กลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ภิกษุไม่แน่ใจ ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันโดย ที่สุดแม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ กลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่กลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ชัก ชวนกันเดินทางไกลร่วมกันโดยที่สุดแม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุชักชวน คนทั้งหลายไม่ได้ชักชวน ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ใช่กลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ภิกษุสำคัญว่ากลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ใช่กลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ใช่กลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่กลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๔๑๑] ๑. ภิกษุเดินทางโดยไม่ได้ชักชวน ๒. คนทั้งหลายชักชวน แต่ภิกษุไม่ได้ชักชวน ๓. ภิกษุไปผิดเวลานัดหมาย ๔. ภิกษุผู้เดินทางกับพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจรในคราวมีเหตุขัดข้อง ๕. ภิกษุวิกลจริต ๖. ภิกษุต้นบัญญัติ
เถยยสัตถสิกขาบทที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๒๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๕๑๘-๕๒๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=102              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=12869&Z=12929                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=654              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=654&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=9768              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=654&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=9768                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc66/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc66/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :