ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๑. เวฬุทวารวรรค ๓. ทีฆาวุอุปาสกสูตร

๓. ทีฆาวุอุปาสกสูตร
ว่าด้วยทีฆาวุอุบาสก
[๙๙๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถาน ที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น อุบาสกชื่อทีฆาวุป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ได้เรียกคหบดีชื่อโชติยะผู้เป็นบิดามาขอร้องว่า “มาเถิดคุณพ่อ ขอ คุณพ่อจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วย เศียรเกล้าแล้ว กราบทูลตามคำของผมว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีฆาวุอุบาสกป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอกราบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า’ และคุณพ่อจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดอนุเคราะห์ เสด็จไปเยี่ยมทีฆาวุอุบาสกถึงนิเวศน์ ด้วยเถิด” โชติยคหบดีรับคำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีฆาวุอุบาสกป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอกราบพระยุคลบาทของพระผู้มี พระภาคด้วยเศียรเกล้า และฝากมากราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ ประทานวโรกาส ขอพระองค์ได้โปรดอนุเคราะห์เสด็จไปเยี่ยมทีฆาวุอุบาสกถึง นิเวศน์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเสด็จไปยัง นิเวศน์ของทีฆาวุอุบาสก ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ตรัสถาม ทีฆาวุอุบาสกดังนี้ว่า “ทีฆาวุ ท่านยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนา ทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ” ทีฆาวุอุบาสกทูลตอบว่า “ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนา มีแต่กำเริบขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ พระพุทธเจ้าข้า” “ทีฆาวุ เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกว่า ‘เรา ๑. จักประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๙๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๑. เวฬุทวารวรรค ๓. ทีฆาวุอุปาสกสูตร

ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ๒. จักประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ ๓. จักประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ ๔. จักประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ’ ทีฆาวุ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้แล” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ องค์เครื่องบรรลุโสดา๑- ๔ ประการใดที่พระผู้มีพระภาค ได้ทรงแสดงไว้ ธรรม(คือองค์เครื่องบรรลุโสดา)เหล่านั้นมีอยู่ในข้าพระองค์ และ ข้าพระองค์ก็เห็นธรรมเหล่านั้น ก็ข้าพระองค์ ๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ ๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ ๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ” “ทีฆาวุ เพราะเหตุนั้น ท่านพึงตั้งอยู่ในองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการนี้แล้ว เจริญธรรมอันเป็นส่วนแห่งวิชชา ๖ ประการให้ยิ่งขึ้นไปว่า ‘ทีฆาวุ ในเรื่องนี้ ท่านจงพิจารณา เห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง มีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ มีความหมายรู้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นอนัตตา มีความหมายรู้ในการละ มีความ หมายรู้ในการคลายออกได้ มีความหมายรู้ในความดับ’ ทีฆาวุ ท่านพึงสำเหนียก อย่างนี้แล” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นส่วนแห่งวิชชา ๖ ประการใดที่พระผู้มี พระภาคได้ทรงแสดงไว้ ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในข้าพระองค์ และข้าพระองค์ก็เห็น ธรรมเหล่านั้น ข้าพระองค์พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง มีความหมายรู้ @เชิงอรรถ : @ องค์เครื่องบรรลุโสดา ในที่นี้หมายถึงคุณสมบัติของพระโสดาบัน (สํ.ม.อ. ๓/๔๗๘/๓๐๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๙๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๑. เวฬุทวารวรรค ๔. ปฐมสารีปุตตสูตร

ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ มีความหมายรู้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นอนัตตา มีความ หมายรู้ในการละ มีความหมายรู้ในการคลายออกได้ มีความหมายรู้ในความดับ อีกอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์มีความคิดว่า ‘เมื่อข้าพระองค์ล่วงลับไป โชติยคหบดีนี้ อย่าได้ถึงความคับแค้นเลย” โชติยคหบดีกล่าวว่า “พ่อทีฆาวุ เธออย่าได้ใส่ใจอย่างนั้นเลย เธอจงใส่ใจถึง พระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้นั้นแลให้ดีเถิด” ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสสอนทีฆาวุอุบาสกด้วยพระโอวาทนี้แล้ว ก็เสด็จลุก จากอาสนะจากไป เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ทีฆาวุอุบาสกก็ได้ถึง แก่กรรม ต่อมา ภิกษุหลายรูปพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ทีฆาวุอุบาสกที่พระองค์ตรัสสอนด้วยพระโอวาทโดยย่อ ได้ถึงแก่กรรมแล้ว คติของเขา เป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพ เป็นอย่างไร” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทีฆาวุอุบาสกเป็นบัณฑิต พูดความจริงถูกต้องตามธรรม ทั้งไม่เบียดเบียนเราเพราะเหตุแห่งธรรม ภิกษุ ทั้งหลาย เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการสิ้นไป ทีฆาวุ อุบาสกจึงเป็นโอปปาติกะ๑- ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก”
ทีฆาวุอุปาสกสูตรที่ ๓ จบ
๔. ปฐมสารีปุตตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตร สูตรที่ ๑
[๑๐๐๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระอานนท์ ออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง @เชิงอรรถ : @ โอปปาติกะ คือสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันทีและเมื่อจุติ (ตาย) ก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่น @เทวดาและสัตว์นรก เป็นต้น (ที.สี.อ. ๑๗๑/๑๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๙๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๔๙๑-๔๙๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=321              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=8247&Z=8299                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1416              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1416&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7797              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1416&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7797                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn55.3/en/sujato https://suttacentral.net/sn55.3/en/woodward



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :