ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๑. เวฬุทวารวรรค ๑. จักกวัตติราชสูตร

๑๑. โสตาปัตติสังยุต
๑. เวฬุทวารวรรค
หมวดว่าด้วยเวฬุทวารคาม
๑. จักกวัตติราชสูตร
ว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ
[๙๙๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ๑- จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงครองราชย์เป็นอิสสราธิบดีแห่งทวีปทั้ง ๔ หลังจากเสด็จ สวรรคตแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทพ ชั้นดาวดึงส์ ท้าวเธอทรงแวดล้อมด้วยหมู่นางอัปสร เพียบพร้อม บำเรอตนด้วย กามคุณ ๕ ประการที่เป็นทิพย์ สำราญพระทัยในสวนนันทวัน ที่ภพดาวดึงส์นั้น ท้าวเธอไม่ทรงประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ทรงพ้น จากนรก ไม่ทรงพ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไม่ทรงพ้นจากภูมิแห่งเปรต และ ไม่ทรงพ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต๒- ไปได้ ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเลี้ยงอัตภาพด้วยอาหาร ที่แสวงหามาได้ด้วยลำแข้ง นุ่งห่มผ้าที่เศร้าหมอง เธอประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากภูมิแห่งเปรต และพ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาตไปได้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ @เชิงอรรถ : @ ดูเนื้อความเต็มในข้อ ๑ (อวิชชาสูตร) หน้า ๑ ในเล่มนี้ @ อบาย ทุคติ วินิบาต ทั้ง ๓ คำนี้เป็นไวพจน์ของนรก (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๓/๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๘๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๑. เวฬุทวารวรรค ๑. จักกวัตติราชสูตร

๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด ด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๑- ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำ มาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำ อัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ๒- ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย การได้ครองทวีปทั้ง ๔ กับการได้ธรรม ๔ ประการ การครอง ทวีปทั้ง ๔ ยังไม่ถึงเศษหนึ่งส่วนสิบหกแห่งการได้ธรรม ๔ ประการเลย”
จักกวัตติราชสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ไม่ประกอบด้วยกาล หมายถึงให้ผลไม่จำกัดกาล คือ ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติทุกเวลาทุก @โอกาส ปฏิบัติเมื่อใดก็ได้รับผลเมื่อนั้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๕๔/๑๕๘, ม.ม.อ. ๓๙๙/๒๙๑) @ ศีลที่พระอริยะชอบใจ หมายถึงศีลที่ประกอบด้วยมรรคและผล (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๘๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๔๘๘-๔๘๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=319              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=8207&Z=8234                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1411              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1411&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7757              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1411&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7757                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn55/sn55.001.than.html https://suttacentral.net/sn55.1/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :