ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]

๑. รโหคตวรรค ๘. สลฬาคารสูตร

๘. สลฬาคารสูตร
ว่าด้วยธรรมเทศนาที่สลฬาคาร
[๙๐๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ สลฬาคาร เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอนุรุทธะเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ฯลฯ๑- ได้กล่าวคำนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน เมื่อเป็นเช่นนั้น หมู่มหาชนพากันถือเอาจอบและตะกร้ามา ด้วยประสงค์ว่า ‘จักทดแม่น้ำคงคานี้ให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไป ข้างหลัง’ ท่านทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร หมู่มหาชนนั้นจะพึงทดแม่ น้ำคงคาให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไปข้างหลังได้หรือ” ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า “ไม่ได้ ขอรับ” “ข้อนั้น เพราะเหตุไร” “เพราะการจะทดแม่น้ำคงคาที่ไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลาก ไปสู่ทิศปราจีน ให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไปข้างหลังนั้น มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งหมู่มหาชนนั้นจะพึงมีส่วนแห่งความลำบาก เหน็ดเหนื่อยแน่นอน” “ผู้มีอายุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น พระราชา มหาอำมาตย์ของ พระราชา มิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตาม พึงเชื้อเชิญภิกษุผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการให้มาก ให้ยินดีด้วยโภคะว่า ‘เชิญเถิด ท่านผู้เจริญ ผ้ากาสาวะเหล่านี้ทำให้ท่านเร่าร้อนมิใช่หรือ ท่านจะเป็นคนหัวโล้น เที่ยวถือกระเบื้องไปทำไม เชิญเถิด เชิญท่านกลับมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอยโภคทรัพย์ และทำบุญเถิด” “ผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการให้มาก จะบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่จิตอันน้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไป ในวิเวกตลอดกาลนานแล้ว จักเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ @เชิงอรรถ : @ ดูเนื้อความเต็มในข้อ ๙๐๕ (ตัณหากขยสูตร) หน้า ๔๓๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๓๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]

๑. รโหคตวรรค ๙. อัมพปาลิวนสูตร

ภิกษุเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการให้มาก อย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯลฯ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการ ให้มาก อย่างนี้แล”
สลฬาคารสูตรที่ ๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๔๓๘-๔๓๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=294              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=7394&Z=7419                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1279              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1279&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7452              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1279&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7452                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn52.8/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :