ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๘. ตติยวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ สูตรที่ ๓
[๕๐๘] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์ ๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์ ๕. อุเปกขินทรีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๑๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]

๔. สุขินทริยวรรค ๘. ตติยวิภังคสูตร

สุขินทรีย์ เป็นอย่างไร คือ ความสุขทางกาย ความสำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส นี้เรียกว่า สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ เป็นอย่างไร คือ ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ ไม่สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ เป็นอย่างไร คือ ความสุขทางใจ ความสำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข สำราญ อันเกิดจากมโนสัมผัส นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ เป็นอย่างไร คือ ความทุกข์ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ ไม่สำราญ อันเกิดจากมโนสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ เป็นอย่างไร คือ ความเสวยอารมณ์ทางกายหรือทางใจที่สำราญก็มิใช่ ไม่สำราญก็มิใช่ นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์ ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น สุขินทรีย์และโสมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นสุขเวทนา ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นทุกขเวทนา อุเปกขินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นอทุกขมสุขเวทนา อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็น ๕ ประการแล้วย่อเป็น ๓ ประการ เป็น ๓ ประการ แล้วขยายออกเป็น ๕ ประการโดยปริยาย ด้วยประการฉะนี้”
ตติยวิภังคสูตรที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๑๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๓๑๕-๓๑๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=219              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=5547&Z=5568                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=940              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=940&items=9              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=940&items=9                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn48/sn48.038.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/maha/sn48-038.html https://suttacentral.net/sn48.38/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :