ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๙. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๙. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. คังคานทีอาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำคงคาเป็นต้น
[๒๕๘-๒๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มากย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้น ภิกษุเมื่อเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
(พึงเพิ่มบาลีให้พิสดารจนถึงเอสนาสูตร)
คังคานทีอาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๙ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ ๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร ๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๙๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๑๐. อัปปมาทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. อัปปมาทวรรค
หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท
๑-๑๐. ตถาคตาทิสูตร
ว่าด้วยพระตถาคตเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นต้น
[๒๗๐-๒๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม มีประมาณเท่าใด พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑-
ตถาคตาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ
อัปปมาทวรรคที่ ๑๐ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร ๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร ๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร ๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร ๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร @เชิงอรรถ : @ ดูข้อความพิสดารในข้อ ๑๓๙-๑๔๘ (มัคคสังยุต) หน้า ๗๒-๗๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๐๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๑๑. พลกรณียวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๑. พลกรณียวรรค
หมวดว่าด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลัง
๑-๑๒. พลาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลังเป็นต้น
[๒๘๐-๒๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำ ด้วยกำลังทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดินจึงทำได้ แม้ฉันใด พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑-
พลาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
พลกรณียวรรคที่ ๑๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร ๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร ๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร ๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร ๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร ๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร (พึงขยายพลกรณียวรรคให้พิสดารด้วยอำนาจโพชฌงค์แห่งโพชฌังคสังยุต) @เชิงอรรถ : @ ดูข้อความพิสดารในข้อ ๑๔๙-๑๖๐ (มัคคสังยุต) หน้า ๗๘-๙๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๐๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๑๒. เอสนาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๒. เอสนาวรรค
หมวดว่าด้วยการแสวงหา
๑-๑๑. เอสนาทิสูตร
ว่าด้วยการแสวงหาเป็นต้น
[๒๙๒-๓๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้ การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ ๓. การแสวงหาพรหมจรรย์ พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑-
เอสนาทิสูตรที่ ๑-๑๑ จบ
เอสนาวรรคที่ ๑๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร ๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร ๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร ๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร ๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร ๑๑. ตสินาสูตร (ผู้รู้ทั้งหลายพึงขยายเอสนาเปยยาลแห่งโพชฌังคสังยุตโดยอาศัยวิเวก) @เชิงอรรถ : @ ดูข้อความพิสดารในข้อ ๑๖๑-๑๗๑ (มัคคสังยุต) หน้า ๙๑-๑๐๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๐๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๑๓. โอฆวรรค ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

๑๓. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๙. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น
[๓๐๒-๓๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย โอฆะ (ห้วงน้ำ) ๔ ประการนี้ โอฆะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กาโมฆะ ๒. ภโวฆะ ๓. ทิฏโฐฆะ ๔. อวิชโชฆะ พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑-
โอฆาทิสูตรที่ ๑-๙ จบ
๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร
ว่าด้วยอุทธัมภาคิยสังโยชน์
[๓๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการนี้ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ ๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ ๕. อวิชชา อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ @เชิงอรรถ : @ ดูข้อความพิสดารในข้อ ๑๗๒-๑๘๑ (มัคคสังยุต) หน้า ๑๐๑-๑๐๘ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๐๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๑๓. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุพึงเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ ฯลฯ ๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด ... อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ... อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้”
อุทธัมภาคิยสูตรที่ ๑๐ จบ
โอฆวรรคที่ ๑๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร ๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร ๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร ๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร ๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๐๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๑๔. ปุนคังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๔. ปุนคังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล อีกหมวดหนึ่ง
๓๑๒-๓๒๓. ปุนคังคานทีอาทิสูตร๑-
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำคงคาเป็นต้น อีกสูตรหนึ่ง
ปุนคังคานทีอาทิสูตรที่ ๓๑๒-๓๒๓ จบ
วรรคที่ ๑๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ ๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร ๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ (พึงขยายคังคาเปยยาลแห่งโพชฌังคสังยุตให้พิสดารด้วยอำนาจราคะ) @เชิงอรรถ : @ ดูข้อความพิสดารในข้อ ๑๐๓-๑๓๘ (มัคคสังยุต) หน้า ๖๒-๗๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๐๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๑๕. ปุนอัปปมาทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๕. ปุนอัปปมาทวรรค
หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท อีกหมวดหนึ่ง
๓๒๔-๓๓๓. ตถาคตาทิสูตร๑-
ว่าด้วยพระตถาคตเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นต้น
ตถาคตาทิสูตรที่ ๓๒๔-๓๓๓ จบ
ปุนอัปปมาทวรรคที่ ๑๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร ๓-๗. กูฏาทิสุตตปัญจกะ ๘-๑๐. จันทิมาทิสุตตติกะ (พึงขยายอัปปมาทวรรคให้พิสดารด้วยอำนาจราคะ) @เชิงอรรถ : @ ดูข้อความพิสดารในข้อ ๑๓๙-๑๔๘ (มัคคสังยุต) หน้า ๗๒-๗๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๐๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๑๖. ปุนพลกรณียวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๖. ปุนพลกรณียวรรค
หมวดว่าด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลัง อีกหมวดหนึ่ง
๓๓๔-๓๔๕. ปุนพลาทิสูตร๑-
ว่าด้วยอุปมาด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลังเป็นต้น อีกสูตรหนึ่ง
ปุนพลาทิสูตรที่ ๓๓๔-๓๔๕ จบ
ปุนพลกรณียวรรคที่ ๑๖ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร ๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร ๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร ๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร ๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร ๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร (พึงขยายพลกรณียวรรคแห่งโพชฌังคสังยุตให้พิสดารด้วยอำนาจราคะ) @เชิงอรรถ : @ ดูข้อความพิสดารในข้อ ๑๔๙-๑๖๐ (มัคคสังยุต) หน้า ๗๘-๙๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๐๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๑๗. ปุนเอสนาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๗. ปุนเอสนาวรรค
หมวดว่าด้วยการแสวงหา อีกหมวดหนึ่ง
๓๔๖-๓๕๖. ปุนเอสนาทิสูตร๑-
ว่าด้วยการแสวงหาเป็นต้น อีกสูตรหนึ่ง
ปุนเอสนาทิสูตรที่ ๓๔๖-๓๕๖ จบ
ปุนเอสนาวรรคแห่งโพชฌังคสังยุตที่ ๑๗ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร ๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร ๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร ๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร ๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร ๑๑. ตสินาสูตร @เชิงอรรถ : @ ดูข้อความพิสดารในข้อ ๑๖๑-๑๗๑ (มัคคสังยุต) หน้า ๙๑-๑๐๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๐๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๑๘. ปุนโอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๘. ปุนโอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ อีกหมวดหนึ่ง
๓๕๗-๓๖๖. ปุนโอฆาทิสูตร๑-
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น อีกสูตรหนึ่ง
ปุนโอฆาทิสูตรที่ ๓๕๗-๓๖๖ จบ
ปุนโอฆวรรคแห่งโพชฌังคสังยุตที่ ๑๘ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร ๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร ๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร ๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร ๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร (พึงขยายโอฆวรรคให้พิสดารด้วยอำนาจการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด) (พึงขยายแม้โพชฌังคสังยุตให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุตฉะนั้น)
โพชฌังคสังยุตที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูข้อความพิสดารในข้อ ๑๗๒-๑๘๑ (มัคคสังยุต) หน้า ๑๐๑-๑๐๘ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๐๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๑๙๙-๒๐๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=130              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=3779&Z=3858                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=672              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=672&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=5367              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=672&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=5367                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn46.77-88/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.77-88/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.89-98/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.89-98/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.99-110/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.99-110/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.111-120/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.111-120/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.121-129/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.130/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.131-142/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.143-152/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.153-164/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.165-174/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.175-184/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :