ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๖. อภยสูตร
ว่าด้วยอภัยราชกุมาร
[๒๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น อภัยราชกุมารเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปูรณะ กัสสปะได้กล่าวว่า ‘เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มีเพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มีเพื่อความรู้ เพื่อ ความเห็น ความรู้ ความเห็นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย’ ในเรื่องนี้ พระองค์ตรัสว่าอย่างไร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๘๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๖. อภยสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราชกุมาร เหตุมี ปัจจัยมีเพื่อความไม่รู้ เพื่อ ความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็นมีเหตุ มีปัจจัย เหตุมี ปัจจัยมีเพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัย” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุเป็นอย่างไร ปัจจัยเพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่ เห็นเป็นอย่างไร ความไม่รู้ ความไม่เห็นมีเหตุ มีปัจจัยอย่างไร” “ราชกุมาร สมัยใด บุคคลมีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่รู้ ไม่เห็นธรรมเครื่องสลัดออกจากกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น มีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาท ครอบงำอยู่ และไม่รู้ ไม่เห็นธรรมเครื่องสลัดออกจากพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วตาม ความเป็นจริง นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็นมีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีจิตถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ฯลฯ มีจิตถูก อุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ฯลฯ มีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้ ไม่เห็นธรรมเครื่องสลัดออกจากวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น มีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร” “ราชกุมาร ธรรมเหล่านี้ชื่อนิวรณ์” “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค นิวรณ์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต นิวรณ์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลถูกนิวรณ์แม้อย่างใดอย่างหนึ่งครอบงำแล้ว ก็ไม่รู้ ไม่เห็นตามความเป็นจริง ไม่จำเป็นต้องพูดถึงบุคคลผู้ถูกนิวรณ์ทั้ง ๕ ครอบงำเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เหตุเป็นอย่างไร ปัจจัยเพื่อความรู้ เพื่อความ เห็นเป็นอย่างไร ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัยอย่างไร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๘๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

“ราชกุมาร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ เธอมีจิตอันสติสัมโพชฌงค์ให้เจริญแล้วย่อม รู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ราชกุมาร นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้ อีกประการหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ เธอมีจิตอันอุเบกขาสัมโพชฌงค์ให้เจริญ แล้วย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ราชกุมาร นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร” “ราชกุมาร ธรรมเหล่านี้ชื่อโพชฌงค์” “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โพชฌงค์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต โพชฌงค์เป็น อย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลผู้ประกอบด้วยโพชฌงค์แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง ไม่จำเป็นต้องพูดถึงบุคคลผู้ประกอบด้วยโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากายใจที่มีแก่ ข้าพระองค์ผู้ขึ้นภูเขาคิชฌกูฏก็ระงับไป และธรรมอันข้าพระองค์ก็ได้บรรลุแล้ว”
อภยสูตรที่ ๖ จบ
โพชฌังคสากัจฉวรรคที่ ๖ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อาหารสูตร ๒. ปริยายสูตร ๓. อัคคิสูตร ๔. เมตตาสหคตสูตร ๕. สังคารวสูตร ๖. อภยสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๘๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๑๘๖-๑๘๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=128              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=3584&Z=3639                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=627              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=627&items=14              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=5334              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=627&items=14              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=5334                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn46.56/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.56/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :