ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๑. โยคักเขมิสูตร

๓. ตติยปัณณาสก์
๑. โยคักเขมิวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้บุคคลมีความเกษมจากโยคะ
๑. โยคักเขมิสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้บุคคลมีความเกษมจากโยคะ
[๑๐๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยาย๑- ที่เป็นเหตุ ให้บุคคลมีความเกษมจากโยคะ๒- แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมบรรยายที่เป็นเหตุให้บุคคลมีความเกษมจากโยคะ เป็นอย่างไร คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ตถาคตละรูปเหล่านั้นได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาล ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคต ได้บอกความเพียรที่ควรประกอบ๓- เพื่อละรูปเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นบัณฑิตจึง กล่าวว่า ‘ตถาคตเป็นผู้มีความเกษมจากโยคะ’ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ตถาคตละธรรมารมณ์นั้นได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ ไปไม่ได้ ตถาคตได้บอกความเพียรที่ควรประกอบเพื่อละธรรมารมณ์นั้น เพราะ เหตุนั้นบัณฑิตจึงกล่าวว่า ‘ตถาคตเป็นผู้มีความเกษมจากโยคะ’ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบรรยายที่เป็นเหตุให้บุคคลมีความเกษมจากโยคะเป็น อย่างนี้แล”
โยคักเขมิสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ธรรมบรรยาย หมายถึงเหตุแห่งธรรม (สํ.สฬา.อ. ๓/๑๐๔/๓๘) @ โยคะ หมายถึงสภาวะอันประกอบสัตว์ไว้ในภพมี ๔ อย่าง (คือ กามโยคะ สภาวะอันประกอบสัตว์ไว้ในภพ @คือกาม, ภวโยคะ สภาวะอันประกอบสัตว์ไว้ในภพคือภพ, ทิฏฐิโยคะ สภาวะอันประกอบสัตว์ไว้ในภพคือ @ทิฏฐิ, อวิชชาโยคะ สภาวะอันประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออวิชชา) (สํ.สฬา.อ. ๓/๑๐๔/๓๘, สํ.ฏีกา ๒/๑๐๔/๓๖๑) @ ความเพียรที่ควรประกอบ หมายถึงสมถะและวิปัสสนาหรืออริยสัจ ๔ (สํ.ฏีกา ๒/๑๐๔/๓๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๑๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๑๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=84              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=2168&Z=2184                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=152              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=152&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=804              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=152&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=804                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i152-e.php# https://suttacentral.net/sn35.104/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.104/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :