ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๓. ปริหานธัมมสูตร

๓. ปริหานธัมมสูตร
ว่าด้วยปริหานธรรม
[๙๖] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริหานธรรม๑- อปริหานธรรม และ อภิภายตนะ ๖ ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ปริหานธรรม เป็นอย่างไร คือ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอาศัยอยู่ ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ให้ถึงความไม่มีอีก ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า ‘เรา กำลังเสื่อมจากกุศลธรรม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม’ ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอาศัยอยู่ ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ให้ถึงความไม่มีอีก ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า ‘เรากำลังเสื่อมจากกุศลธรรม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม’ ปริหานธรรมเป็นอย่างนี้แล อปริหานธรรม เป็นอย่างไร คือ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้นอาศัยอยู่ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า ‘เราไม่เสื่อม จากกุศลธรรม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม’ ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้น อาศัยอยู่ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ข้อนั้นภิกษุ พึงทราบว่า ‘เราไม่ เสื่อมจากกุศลธรรม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม’ อปริหานธรรมเป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ ปริหานธรรม หมายถึงธรรมที่มีความเสื่อมไปเป็นสภาพ (สํ.สฬา.อ. ๓/๙๖/๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๐๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๔. ปมาทวิหารีสูตร

อภิภายตนะ ๖ ประการ เป็นอย่างไร คือ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ย่อมไม่เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า ‘อายตนะนี้เราครอบงำได้แล้ว นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ’ ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า ‘อายตนะนี้เราครอบงำได้แล้ว นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ’ ภิกษุทั้งหลาย อายตนะเหล่านี้ เราเรียกว่า อภิภายตนะ ๖ ประการ”
ปริหานธัมมสูตรที่ ๓ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๐๖-๑๐๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=76              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=1932&Z=1972                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=140              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=140&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=747              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=140&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=747                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i128-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/sn35.96/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.96/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :