ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๘. อุปวาณสันทิฏฐิกสูตร
ว่าด้วยพระอุปวาณะทูลถามธรรมที่พึงเห็นเอง
[๗๐] ครั้งนั้น ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ ตรัสว่า ‘ธรรมเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ธรรมเป็นธรรมที่ผู้ ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระธรรมจึงชื่อว่าเป็น ธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๓- ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน” @เชิงอรรถ : @ อหังการ หมายถึงทิฏฐิ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๒/๑๑๓) @ มมังการ หมายถึงตัณหา (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๒/๑๑๓) @ ไม่ประกอบด้วยกาล หมายถึงให้ผลไม่จำกัดกาล คือไม่ขึ้นกับกาลเวลา ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติทุกเวลา @ทุกโอกาส ปฏิบัติเมื่อใด ก็ได้รับผลเมื่อนั้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๕๔/๑๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๕๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๘. อุปวาณสันทิฏฐิกสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตา แล้วเป็นผู้เสวยรูป เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรูปใน ภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในรูปในภายในของเรามีอยู่’ การที่ภิกษุเห็นรูป ทางตาแล้วเป็นผู้เสวยรูป เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรูป ในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในรูปในภายในของเรามีอยู่’ อย่างนี้แล อุปวาณะ ธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้วเป็นผู้เสวยรส เสวยความกำหนัดใน รส และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรสในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในรสใน ภายในของเรามีอยู่’ การที่ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้วเป็นผู้เสวยรส เสวยความกำหนัด ในรส และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรสในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในรสใน ภายในของเรามีอยู่’ อย่างนี้แล อุปวาณะ ธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึง เห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ เสวย ความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดถึงความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายในซึ่งมีอยู่ ว่า ‘ความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายในของเรามีอยู่’ การที่ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ ทางใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดถึง ความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในธรรมารมณ์ใน ภายในของเรามีอยู่’ อย่างนี้แล อุปวาณะ ธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึง เห็นชัดด้วยตนเอง ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯลฯ ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วเป็นผู้เสวยรูป แต่ไม่เสวยความ กำหนัดในรูป และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรูปในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ความกำหนัดใน รูปในภายในของเราไม่มี’ การที่ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้วเป็นผู้เสวยรูป แต่ไม่เสวย ความกำหนัดในรูป และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรูปในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ความกำหนัด ในรูปในภายในของเราไม่มี’ อย่างนี้แล อุปวาณะ ธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติ จะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๖๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๙. ปฐมฉผัสสายตนสูตร

อีกประการหนึ่ง ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้วเป็นผู้เสวยรส แต่ไม่เสวยความกำหนัด ในรส และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรสในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ความกำหนัดในรสในภายใน ของเราไม่มี’ ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ แต่ ไม่เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดถึงความกำหนัดในธรรมารมณ์ใน ภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายในของเราไม่มี’ การที่ภิกษุ รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ แต่ไม่เสวยความกำหนัดใน ธรรมารมณ์ และรู้ชัดถึงความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ความ กำหนัดในภายในของเราไม่มี’ อย่างนี้แล อุปวาณะ ธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมอันผู้ ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
อุปวาณสันทิฏฐิกสูตรที่ ๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๕๙-๖๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=50              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=908&Z=947                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=78              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=78&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=358              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=78&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=358                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i066-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/sn35.70/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.70/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :