ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๑. กายคตาสติสูตร

๙. อสังขตสังยุต
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
๑. กายคตาสติสูตร
ว่าด้วยกายคตาสติ
[๓๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัส ว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตธรรม (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้) และทาง ที่ให้ถึงอสังขตธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง อสังขตธรรม คืออะไร คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ นี้เราเรียกว่า อสังขตธรรม ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร คือ กายคตาสติ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม อสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วแก่เธอ ทั้งหลายอย่างนี้ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงอาศัย ความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา”
กายคตาสติสูตรที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๔๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๔. สุญญตสมาธิสูตร

๒. สมถวิปัสสนาสูตร
ว่าด้วยสมถะและวิปัสสนา
[๓๖๗] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตธรรมและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง อสังขตธรรม คืออะไร คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ นี้เราเรียกว่า อสังขตธรรม ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร คือ สมถะและวิปัสสนา นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
สมถวิปัสสนาสูตรที่ ๒ จบ
๓. สวิตักกสวิจารสูตร
ว่าด้วยสวิตักกสวิจารสมาธิ
[๓๖๘] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีวิตกวิจาร) อวิตักกวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร) อวิตักกอวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร) นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
สวิตักกสวิจารสูตรที่ ๓ จบ
๔. สุญญตสมาธิสูตร
ว่าด้วยสุญญตสมาธิ
[๓๖๙] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๔๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๗. อิทธิปาทสูตร

คือ สุญญตสมาธิ (สมาธิพิจารณาความว่าง) อนิมิตตสมาธิ (สมาธิพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต) อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา) นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
สุญญตสมาธิสูตรที่ ๔ จบ
๕. สติปัฏฐานสูตร
ว่าด้วยสติปัฏฐาน
[๓๗๐] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร คือ สติปัฏฐาน ๔ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
สติปัฏฐานสูตรที่ ๕ จบ
๖. สัมมัปปธานสูตร
ว่าด้วยสัมมัปปธาน
[๓๗๑] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร คือ สัมมัปปธาน ๔ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
สัมมัปปธานสูตรที่ ๖ จบ
๗. อิทธิปาทสูตร
ว่าด้วยอิทธิบาท
[๓๗๒] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร คือ อิทธิบาท ๔ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
อิทธิปาทสูตรที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๕๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๑๑. มัคคังคสูตร

๘. อินทริยสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์
[๓๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร คือ อินทรีย์ ๕ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
อินทริยสูตรที่ ๘ จบ
๙. พลสูตร
ว่าด้วยพละ
[๓๗๔] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร คือ พละ ๕ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
พลสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. โพชฌังคสูตร
ว่าด้วยโพชฌงค์
[๓๗๕] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร คือ โพชฌงค์ ๗ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
โพชฌังคสูตรที่ ๑๐ จบ
๑๑. มัคคังคสูตร
ว่าด้วยองค์แห่งมรรค
[๓๗๖] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๕๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]

๑. ปฐมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

อสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วแก่เธอ ทั้งหลายอย่างนี้ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงอาศัย ความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา”
มัคคังคสูตรที่ ๑๑ จบ
ปฐมวรรคแห่งสังยุต จบบริบูรณ์
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กายคตาสติสูตร ๒. สมถวิปัสสนาสูตร ๓. สวิตักกสวิจารสูตร ๔. สุญญตสมาธิสูตร ๕. สติปัฏฐานสูตร ๖. สัมมัปปธานสูตร ๗. อิทธิปาทสูตร ๘. อินทริยสูตร ๙. พลสูตร ๑๐. โพชฌังคสูตร ๑๑. มัคคังคสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๕๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๔๔๘-๔๕๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=280              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=9026&Z=9078                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=674              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=674&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3770              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=674&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3770                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i674-e.php# https://suttacentral.net/sn43.1/en/sujato https://suttacentral.net/sn43.1/en/bodhi https://suttacentral.net/sn43.2/en/sujato https://suttacentral.net/sn43.2/en/bodhi https://suttacentral.net/sn43.3/en/sujato https://suttacentral.net/sn43.3/en/bodhi https://suttacentral.net/sn43.4/en/sujato https://suttacentral.net/sn43.4/en/bodhi https://suttacentral.net/sn43.5/en/sujato https://suttacentral.net/sn43.5/en/bodhi https://suttacentral.net/sn43.6/en/sujato https://suttacentral.net/sn43.6/en/bodhi https://suttacentral.net/sn43.7/en/sujato https://suttacentral.net/sn43.7/en/bodhi https://suttacentral.net/sn43.8/en/sujato https://suttacentral.net/sn43.8/en/bodhi https://suttacentral.net/sn43.9/en/sujato https://suttacentral.net/sn43.9/en/bodhi https://suttacentral.net/sn43.10/en/sujato https://suttacentral.net/sn43.10/en/bodhi https://suttacentral.net/sn43.11/en/sujato https://suttacentral.net/sn43.11/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :