ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๙. อเจลกัสสปสูตร
ว่าด้วยอเจลกัสสปะ
[๓๕๑] สมัยนั้น อเจลกัสสปะผู้เคยเป็นสหายเก่าเมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ของ จิตตคหบดีไปถึงเมืองมัจฉิกาสัณฑ์ จิตตคหบดีได้ยินข่าวว่า “อเจลกัสสปะผู้เคย เป็นสหายเก่าเมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ของเรา ได้มาถึงเมืองมัจฉิกาสัณฑ์” จึงเข้าไปหา อเจลกัสสปะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามดังนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๘๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต]

๑๐. คิลานทัสสนสูตร

“กัสสปะผู้เจริญ ท่านบวชนานเท่าไร” อเจลกัสสปะตอบว่า “ท่านคหบดี เราบวชได้ประมาณ ๓๐ ปีแล้ว” “ผู้เจริญ ตลอดเวลาประมาณ ๓๐ ปีนี้ ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ๑- อัน วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์๒- เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุกที่ท่านบรรลุแล้วมีอยู่หรือ” “คหบดี ตลอดเวลาประมาณ ๓๐ ปีนี้ ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ อันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุกที่เราบรรลุแล้วย่อมไม่มี นอกจากความเป็นคนเปลือย ความเป็นคนโล้น และการสลัดฝุ่นธุลีด้วยขนหาง นกยูง” เมื่ออเจลกัสสปะกล่าวอย่างนี้แล้ว จิตตคหบดีได้กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ น่า อัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เพราะในการ บวชตลอดเวลาประมาณ ๓๐ ปี ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่า ธรรมของมนุษย์ เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุก ที่ท่านบรรลุแล้วจักไม่มี นอกจาก ความเป็นคนเปลือย ความเป็นคนโล้น และการสลัดฝุ่นธุลีด้วยขนหางนกยูง” “คหบดี ท่านเข้าถึงความเป็นอุบาสกนานเท่าไรแล้ว” “ท่านผู้เจริญ ผมเข้าถึงความเป็นอุบาสกได้ประมาณ ๓๐ ปีแล้ว” “คหบดี ตลอดเวลาประมาณ ๓๐ ปีนี้ ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอัน วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุกที่ท่านบรรลุแล้วมีอยู่หรือ” “ท่านผู้เจริญ แม้แต่คฤหัสถ์ก็พึงมีธรรมเช่นนั้นได้ เพราะผมสงัดจากกามและ อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวก อยู่ตราบเท่าที่ต้องการ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ผมบรรลุทุติยฌานตราบเท่า ที่ต้องการ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ ผมบรรลุตติยฌานตราบเท่าที่ต้องการ เพราะละสุขได้ ฯลฯ ผมบรรลุจตุตถฌานตราบเท่าที่ต้องการ ถ้าผมพึงพยากรณ์ ก่อนพระผู้มีพระภาค ไม่น่าอัศจรรย์เลย ที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ผมว่า ‘จิตตคหบดีประกอบด้วยสังโยชน์ใดพึงกลับมายังโลกนี้อีก สังโยชน์นั้นไม่มี @เชิงอรรถ : @ ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ หมายถึงมหัคคตโลกุตตรปัญญา (ปัญญาชั้นโลกุตตระที่ถึงความ @เป็นใหญ่) อันประเสริฐ บริสุทธิ์ สูงสุด สามารถกำจัดกิเลสได้ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๘/๓๕๐) @ ธรรมของมนุษย์ หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (สํ.สฬา.อ. ๓/๓๕๑/๑๖๒, องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๑/๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๙๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต]

๑๐. คิลานทัสสนสูตร

เมื่อจิตตคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปะได้กล่าวกับจิตตคหบดีดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เพราะในการเข้าถึงความเป็นอุบาสก คฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาวจักบรรลุญาณทัสสนะ ที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุกได้ คหบดี เราพึงได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้” ต่อมา จิตตคหบดีได้พาอเจลกัสสปะเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายถึงที่ อยู่แล้ว ได้เรียนถามภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อเจลกัสสปะนี้เคยเป็นสหายเก่าเมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ของกระผม ขอพระเถระ ทั้งหลายโปรดบรรพชาอุปสมบทให้อเจลกัสสปะนี้เถิด กระผมจักบำรุงเธอด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร” อเจลกัสสปะได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้แล้ว และท่านพระกัสสปะ บวชแล้วไม่นาน ก็หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย และใจอยู่ ไม่นานนักได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” อนึ่ง ท่านพระกัสสปะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
อเจลกัสสปสูตรที่ ๙ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๓๘๙-๓๙๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=265              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=7621&Z=7673                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=580              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=580&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3558              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=580&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3558                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i537-e.php#sutta9 https://suttacentral.net/sn41.9/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :