ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๖. สัลลสูตร
ว่าด้วยลูกศร
[๒๕๔] “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนา บ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง อริยสาวกผู้ได้สดับก็เสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง ในชน ๒ จำพวกนั้น มีอะไรเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้ง หลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับถูกทุกขเวทนา ถูกต้อง ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความลุ่มหลง เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ ประการ คือ ๑. เวทนาทางกาย ๒. เวทนาทางใจ นายขมังธนูใช้ลูกศรยิงบุรุษ ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ ๒ อีก เมื่อเป็น เช่นนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนา ๒ ประการเพราะลูกศร คือ ๑. เวทนาทางกาย ๒. เวทนาทางใจ แม้ฉันใด ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกทุกขเวทนาถูกต้องย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความลุ่มหลง เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ ประการ คือ ๑. เวทนาทางกาย ๒. เวทนาทางใจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๗๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]

๑. สคาถวรรค ๖. สัลลสูตร

อนึ่ง เขาถูกทุกขเวทนานั้นแลถูกต้องแล้ว ย่อมขัดเคือง ปฏิฆานุสัยในทุกข- เวทนาย่อมไหลไปตามเขาผู้ขัดเคืองในเพราะทุกขเวทนา เขาถูกทุกขเวทนาถูกต้อง แล้วก็ยังเพลิดเพลินกามสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนั้นไม่รู้ชัดเครื่องสลัดออกจากทุกขเวทนานอกจากกามสุข เมื่อเขาเพลิดเพลินกามสุข ราคานุสัยในสุขเวทนานั้นย่อมไหลไปตาม เขาย่อมไม่รู้ชัด ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากเวทนาเหล่านั้นตามความ เป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก เวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง อวิชชานุสัยในอทุกขมสุขเวทนาย่อมไหลไปตาม เขาเสวยสุขเวทนา ก็เป็นผู้ประกอบ(ด้วยกิเลส)เสวยสุขเวทนานั้น เสวยทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ประกอบ(ด้วยกิเลส)เสวยทุกขเวทนานั้น และเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็เป็น ผู้ประกอบ(ด้วยกิเลส)เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้เราเรียกว่า ‘เป็นผู้ประกอบด้วยชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส’ เรากล่าวว่า ‘เป็นผู้ ประกอบด้วยทุกข์’ ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับถูกทุกขเวทนาถูกต้อง ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความลุ่มหลง เธอย่อมเสวยเวทนา ทางกายประการเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ นายขมังธนูใช้ลูกศรยิงบุรุษ ไม่ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ ๒ เมื่อเป็นเช่นนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรดอกเดียวแม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกทุกขเวทนาถูกต้อง ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความลุ่มหลง เขาย่อมเสวยเวทนาทางกายประการเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ อนึ่ง เธอถูกทุกขเวทนานั้นแลถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ขัดเคือง ปฏิฆานุสัยใน ทุกขเวทนา ย่อมไม่ไหลไปตามเธอผู้ไม่ขัดเคืองในเพราะทุกขเวทนา เธอถูกทุกข- เวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลินกามสุข {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๗๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]

๑. สคาถวรรค ๖. สัลลสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอริยสาวกผู้ได้สดับนั้นรู้ชัดเครื่องสลัดออกจากทุกขเวทนา เว้นจาก กามสุข เมื่อเธอไม่เพลิดเพลินกามสุข ราคานุสัยในสุขเวทนา ย่อมไม่ไหลไปตาม เธอรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง เมื่อเธอรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัด ออกจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง อวิชชานุสัยในอทุกขมสุขเวทนาย่อมไม่ ไหลไปตาม ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็ปราศจาก(กิเลส)เสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเธอ เสวยทุกขเวทนา ก็ปราศจาก(กิเลส)เสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุข- เวทนา ก็ปราศจาก(กิเลส)เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับนี้เราเรียกว่า ‘เป็นผู้ปราศจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส’ เรากล่าวว่า ‘เป็นผู้ปราศจากทุกข์’ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุ ทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ อริยสาวกนั้นมีปัญญา เป็นพหูสูต ย่อมไม่เสวยทั้งสุขเวทนา ทั้งทุกขเวทนา นี้เป็นความแปลกกันระหว่างธีรชนผู้ฉลาดกับปุถุชน ธรรมที่น่าปรารถนาย่อมไม่ย่ำยีจิต ของอริยสาวกนั้นผู้มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว เป็นพหูสูตเห็นแจ้งโลกนี้และโลกหน้าอยู่ ท่านย่อมไม่ถึงความขัดเคืองเพราะอนิฏฐารมณ์ อนึ่ง ความยินดีหรือความยินร้ายถูกท่านกำจัดแล้ว ตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมไม่มี ท่านรู้บทที่ปราศจากธุลี ไม่มีความเศร้าโศก รู้ชัดโดยชอบ ถึงฝั่งแห่งภพได้”
สัลลสูตรที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๗๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๗๔-๒๗๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=200              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=5572&Z=5634                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=369              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=369&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3022              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=369&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3022                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i359-e.php#sutta6 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn36/sn36.006.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn36/sn36.006.nypo.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/salayatana/sn36-006.html https://suttacentral.net/sn36.6/en/sujato https://suttacentral.net/sn36.6/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :