ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๕. โกฏฐิกสูตร
ว่าด้วยพระมหาโกฏฐิกะ
[๒๓๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิกะ อยู่ ณ ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้นในเวลาเย็นท่านพระมหาโกฏฐิกะออก จากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่ บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระสารีบุตร ดังนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๒๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๕. โกฏฐิกสูตร

“ท่านสารีบุตร ตาเกี่ยวข้องกับรูป รูปเกี่ยวข้องกับตา ฯลฯ ลิ้นเกี่ยวข้อง กับรส รสเกี่ยวข้องกับลิ้น ฯลฯ ใจเกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เกี่ยว ข้องกับใจหรือ” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านโกฏฐิกะ ตาไม่เกี่ยวข้องกับรูป รูปก็ไม่ เกี่ยวข้องกับตา แต่เพราะอาศัยตาและรูปทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ตาและ รูปนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น ฯลฯ ลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส รสก็ไม่เกี่ยวข้องกับลิ้น แต่เพราะอาศัยลิ้นและรส ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ลิ้นและรสนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น ฯลฯ ใจไม่เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เกี่ยวข้องกับใจ แต่เพราะ อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึง เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น ท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือนโคดำกับโคขาว เขาผูกติดกันด้วยสายคร่าวหรือ ด้วยเชือกเส้นเดียวกัน ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘โคดำเกี่ยวเนื่องกับโคขาว โคขาว เกี่ยวเนื่องกับโคดำ’ ผู้นั้นเมื่อกล่าวพึงกล่าวถูกต้องหรือ” “ไม่ถูกต้อง ขอรับ โคดำไม่เกี่ยวเนื่องกับโคขาว แม้โคขาวก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับ โคดำ แต่โคทั้งสองนั้นถูกเขาผูกด้วยสายคร่าวหรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน สายคร่าว หรือเชือกนั้นจึงเกี่ยวเนื่องในโคทั้งสองนั้น” “ผู้มีอายุ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตาไม่เกี่ยวข้องกับรูป รูปก็ไม่เกี่ยวข้องกับตา แต่เพราะอาศัยตาและรูปทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ตาและรูปนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น ฯลฯ ลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส ฯลฯ ใจไม่เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เกี่ยวข้องกับใจ แต่เพราะ อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึง เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น ผู้มีอายุ ตาจักเกี่ยวข้องกับรูป หรือรูปจักเกี่ยวข้องกับตา การประพฤติ พรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบไม่พึงปรากฏ แต่เพราะตาไม่เกี่ยวข้องกับรูป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๒๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๕. โกฏฐิกสูตร

รูปไม่เกี่ยวข้องกับตา และเพราะอาศัยตาและรูปทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ตาและรูปนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น ฉะนั้นการประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความ สิ้นทุกข์โดยชอบจึงปรากฏ ฯลฯ ลิ้นจักเกี่ยวข้องกับรส หรือรสจักเกี่ยวข้องกับลิ้น การประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบไม่พึงปรากฏ แต่เพราะลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส รสไม่ เกี่ยวข้องกับลิ้น และเพราะอาศัยลิ้นและรสทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ลิ้น และรสนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น ฉะนั้นการประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้น ทุกข์โดยชอบจึงปรากฏ ใจจักเกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ หรือว่าธรรมารมณ์จักเกี่ยวข้องกับใจ การ ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบไม่พึงปรากฏ แต่เพราะใจไม่ เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ไม่เกี่ยวข้องกับใจ และเพราะอาศัยใจและ ธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึงเกี่ยวข้องใน ฉันทราคะนั้น ฉะนั้นการประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบจึงปรากฏ ผู้มีอายุ ข้อนี้พึงทราบโดยประการแม้นี้ ตาไม่เกี่ยวข้องกับรูป รูปก็ไม่ เกี่ยวข้องกับตา แต่เพราะอาศัยตาและรูปทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ตาและ รูปนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น ฯลฯ ลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส ฯลฯ ใจไม่เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เกี่ยวข้องกับใจ แต่เพราะ อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึง เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น ผู้มีอายุ พระเนตรของพระผู้มีพระภาคมีอยู่ พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูป ด้วยพระเนตร แต่ไม่ทรงมีฉันทราคะเลย ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระโสตของพระ ผู้มีพระภาคมีอยู่ พระผู้มีพระภาคทรงฟังเสียงด้วยพระโสต แต่ไม่ทรงมีฉันทราคะ เลย ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระนาสิกของพระผู้มีพระภาคมีอยู่ พระผู้มีพระภาค ทรงสูดกลิ่นด้วยพระนาสิก แต่ไม่ทรงมีฉันทราคะเลย ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระชิวหาของพระผู้มีพระภาคมีอยู่ พระองค์ทรงลิ้มรสด้วยพระชิวหา แต่ไม่ทรงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๒๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๖. กามสูตร

ฉันทราคะเลย ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระวรกายของพระผู้มีพระภาคมีอยู่ พระ ผู้มีพระภาคทรงถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยพระวรกาย แต่ไม่ทรงมีฉันทราคะเลย ทรงมี จิตหลุดพ้นดีแล้ว พระมนัสของพระผู้มีพระภาคมีอยู่ พระผู้มีพระภาคทรงรู้แจ้ง ธรรมารมณ์ด้วยพระมนัส แต่ไม่ทรงมีฉันทราคะเลย ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว ผู้มีอายุ ข้อนี้ก็พึงทราบโดยประการนี้ ตาไม่เกี่ยวข้องกับรูป รูปไม่เกี่ยวข้อง กับตา แต่เพราะอาศัยตาและรูปทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ตาและรูปนั้นจึง เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น หูไม่เกี่ยวข้องกับเสียง ... จมูกไม่เกี่ยวข้องกับกลิ่น ... ลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส รสไม่เกี่ยวข้องกับลิ้น แต่เพราะอาศัยลิ้นและรสทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ลิ้นและรสนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น กายไม่เกี่ยวข้องกับโผฏฐัพพะ ... ใจไม่ เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ไม่เกี่ยวข้องกับใจ แต่เพราะอาศัยใจและ ธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึงเกี่ยวข้องใน ฉันทราคะนั้น”
โกฏฐิกสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๒๔-๒๒๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=178              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=4529&Z=4602                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=295              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=295&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=1270              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=295&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=1270                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i285-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.191.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.191.wlsh.html https://suttacentral.net/sn35.232/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.232/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :