ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๑๐. ธัมมกถิกปุจฉาสูตร
ว่าด้วยการถามเรื่องพระธรรมกถึก
[๑๕๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ ตรัสว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุ จึงเป็นธรรมกถึก” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความ เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับจักขุ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ หากภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับจักขุ ควร เรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’ หากภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นเพราะ ความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ ไม่ถือมั่นจักขุ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน’ ฯลฯ หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชิวหา ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ ฯลฯ หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับมโน ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ หากภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับมโน ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๙๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

หากภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ ไม่ถือมั่นมโน ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน”
ธรรมกถิกปุจฉาสูตรที่ ๑๐ จบ
นวปุราณวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กัมมนิโรธสูตร ๒. ปฐมนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร ๓. ทุติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร ๔. ตติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร ๕. จตุตถนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร ๖. อันเตวาสิกสูตร ๗. กิมัตถิยพรหมจริยสูตร ๘. อัตถินุโขปริยายสูตร ๙. อินทริยสัมปันนสูตร ๑๐. ธัมมกถิกปุจฉาสูตร
ตติยปัณณาสก์ในสฬายตนวรรค จบบริบูรณ์
รวมวรรคที่มีในตติยปัณณาสก์นี้ คือ
๑. โยคักเขมิวรรค ๒. โลกกามคุณวรรค ๓. คหปติวรรค ๔. เทวทหวรรค ๕. นวปุราณวรรค {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๙๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๙๑-๑๙๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=133              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=3673&Z=3697                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=244              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=244&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=1202              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=244&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=1202                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i227-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/sn35.155/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.155/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :