ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๖. อันเตวาสิกสูตร

๖. อันเตวาสิกสูตร
ว่าด้วยอันเตวาสิก
[๑๕๑] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์นี้ไม่มีอันเตวาสิก๑- ไม่มี อาจารย์๒- ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย ส่วนภิกษุ ผู้ไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นสุข สบาย ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย เป็นอย่างไร คือ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อม เกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ย่อมอยู่ภายในของภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่ภายในของภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้มีอันเตวาสิก’ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อม ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึง เรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้มีอาจารย์’ ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะลิ้มรสทางลิ้น ธรรมที่เป็นบาปอกุศลย่อมอยู่ภายในของ ภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่ภายในของภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึงเรียก ภิกษุนั้นว่า ‘ผู้มีอันเตวาสิก’ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ย่อมฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุ นั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุ นั้นว่า ‘ผู้มีอาจารย์’ ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ย่อมอยู่ภายในของภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่ภายในของภิกษุนั้น เหตุนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้มีอันเตวาสิก’ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมฟุ้งขึ้น ท่วมภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึงเรียก ภิกษุนั้นว่า ‘ผู้มีอาจารย์’ ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ ไม่มีอันเตวาสิก ในที่นี้หมายถึงไม่มีกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายใน (สํ.สฬา.อ. ๓๕/๕๑๙/๓๙๑) @ ไม่มีอาจารย์ ในที่นี้หมายถึงไม่มีกิเลสที่ฟุ้งขึ้น (สํ.สฬา.อ. ๓/๑๕๑-๑๕๒/๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๘๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๖. อันเตวาสิกสูตร

ส่วนภิกษุผู้ไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นสุข สบาย เป็นอย่างไร คือ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมไม่ เกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ย่อมไม่อยู่ภายในของภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลไม่อยู่ภายในของภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้ไม่มีอันเตวาสิก’ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ย่อมไม่ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลไม่ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เหตุ นั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้ไม่มีอาจารย์’ ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะลิ้มรสทางลิ้น ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อม ไม่อยู่ภายในของภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลไม่อยู่ภายในของภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้ไม่มีอันเตวาสิก’ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ย่อมไม่ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลไม่ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เหตุ นั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้ไม่มีอาจารย์’ ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล เหล่านั้นย่อมไม่อยู่ภายในของภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลไม่อยู่ภายใน ของภิกษุนั้น เหตุนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้ไม่มีอันเตวาสิก’ ธรรมที่เป็นบาป อกุศลย่อมไม่ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลไม่ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้ไม่มีอาจารย์’ ภิกษุผู้ไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นสุข สบาย เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์นี้ ไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์ ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย ภิกษุผู้ไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นสุข สบาย”
อันเตวาสิกสูตรที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๘๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๘๔-๑๘๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=129              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=3553&Z=3589                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=236              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=236&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=1177              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=236&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=1177                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i227-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/sn35.151/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.151/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :