ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์เวียนรอบ
[๕๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป) ๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา) ๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา) ๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร) ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ) ตราบใด เรายังไม่รู้ชัดอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ โดยเวียนรอบ ๔ ครั้ง ตามความเป็นจริง ตราบนั้น เราก็ไม่ยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบซึ่งสัมมาสัมโพธิ- ญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๘๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร

แต่เมื่อใด เรารู้ชัดอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ โดยเวียนรอบ ๔ ครั้งตาม ความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงจะยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบซึ่งสัมมาสัมโพธิ- ญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก ฯลฯ เทวดาและมนุษย์’ เวียนรอบ ๔ ครั้ง เป็นอย่างไร คือ เรารู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับแห่งรูป ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ เรารู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ รูป เป็นอย่างไร คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูป เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร ความเกิดขึ้นแห่งรูปจึงมี เพราะความดับแห่ง อาหาร ความดับแห่งรูปจึงมี อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับ แห่งรูป และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า มั่นคงในธรรมวินัยนี้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับ แห่งรูป และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะ ความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับไป เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นรูป สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๘๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก เวทนา เป็นอย่างไร คือ เวทนา ๖ ประการนี้ ได้แก่ ๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากจักขุสัมผัส) ๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากโสตสัมผัส) ๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากฆานสัมผัส) ๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากชิวหาสัมผัส) ๕. กายสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากกายสัมผัส) ๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากมโนสัมผัส) นี้เรียกว่า เวทนา เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาจึงมี เพราะความดับ แห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาจึงมี อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดเวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อ ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า มั่นคงในธรรมวินัยนี้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดเวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๘๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร

สัญญา เป็นอย่างไร คือ สัญญา ๖ ประการนี้ ได้แก่ ๑. รูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) ๒. สัททสัญญา (ความหมายรู้เสียง) ๓. คันธสัญญา (ความหมายรู้กลิ่น) ๔. รสสัญญา (ความหมายรู้รส) ๕. โผฏฐัพพสัญญา (ความหมายรู้โผฏฐัพพะ) ๖. ธัมมสัญญา (ความหมายรู้ธรรมารมณ์) นี้เรียกว่า สัญญา เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาจึงมี เพราะความดับ แห่งผัสสะ ความดับแห่งสัญญาจึงมี อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก สังขาร เป็นอย่างไร คือ เจตนา ๖ ประการนี้ ได้แก่ ๑. รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป) ๒. สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง) ๓. คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น) ๔. รสสัญเจตนา (ความจำนงรส) ๕. โผฏฐัพพสัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ) ๖. ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์) นี้เรียกว่า สังขาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๘๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร

เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารจึงมี เพราะความดับ แห่งผัสสะ ความดับแห่งสังขารจึงมี อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดสังขาร ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ความดับแห่งสังขาร และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อ ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสังขารทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า มั่นคงในธรรมวินัยนี้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดสังขาร ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ความดับแห่งสังขาร และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้แล้ว เป็นผู้หลุดพ้น เพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับไป ไม่ยึดมั่นถือมั่นสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อ ว่าหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก วิญญาณ เป็นอย่างไร คือ วิญญาณ ๖ ประการนี้ ได้แก่ ๑. จักขุวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางตา) ๒. โสตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางหู) ๓. ฆานวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางจมูก) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๘๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร

๔. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น) ๕. กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางกาย) ๖. มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ) นี้เรียกว่า วิญญาณ เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณจึงมี เพราะความ ดับแห่งนามรูป ความดับแห่งวิญญาณจึงมี อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้แล้วปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า มั่นคงในธรรมวินัยนี้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้แล้วเป็น ผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับไป ไม่ยึดมั่นถือมั่น วิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก”
อุปาทานปริปวัตตนสูตรที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๘๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๘๑-๘๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=56              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=1302&Z=1378                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=112              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=112&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=6685              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=112&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=6685                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i105-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.056.than.html https://suttacentral.net/sn22.56/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.56/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :