ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๕. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ
[๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริง รู้ชัดอะไรเล่าตามความเป็นจริง คือ ภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งรูป ความเกิดและความดับแห่งเวทนา ความเกิดและความดับแห่งสัญญา ความเกิดและความดับแห่งสังขาร ความเกิดและ ความดับแห่งวิญญาณ อะไรเป็นความเกิดแห่งรูป อะไรเป็นความเกิดแห่งเวทนา อะไรเป็น ความเกิดแห่งสัญญา อะไรเป็นความเกิดแห่งสังขาร อะไรเป็นความเกิดแห่ง วิญญาณ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดอะไรเล่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๖. ปฏิสัลลานสูตร

คือ ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูป เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึด ติดรูป ความเพลิดเพลินจึงเกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในรูปเป็นอุปาทาน เพราะ อุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะ ชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดเวทนา ฯลฯ ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดสัญญา ฯลฯ ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดสังขาร ฯลฯ ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดวิญญาณ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึด ติดวิญญาณ ความเพลิดเพลินจึงเกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในวิญญาณเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนา นี้ เป็นความเกิดขึ้นแห่งสัญญา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งสังขาร นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่ง วิญญาณ อะไรเป็นความดับแห่งรูป ... แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดอะไรเล่า คือ ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูป เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูป ความเพลิดเพลินในรูปจึงดับ เพราะความเพลิดเพลินของภิกษุนั้นดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวล นี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดเวทนา เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่ เชยชม ไม่ยึดติดเวทนา ความเพลิดเพลินในเวทนาจึงดับ เพราะความเพลิดเพลิน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๖. ปฏิสัลลานสูตร

ของภิกษุนั้นดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับ แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดสัญญา ฯลฯ ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดสังขาร เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดสังขาร ความเพลิดเพลินในสังขารจึงดับ เพราะความเพลิดเพลินของภิกษุ นั้นดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกอง ทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดวิญญาณ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่ เชยชม ไม่ยึดติดวิญญาณ ความเพลิดเพลินในวิญญาณจึงดับ เพราะความ เพลิดเพลินของภิกษุนั้นดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความดับแห่งรูป นี้เป็นความดับแห่งเวทนา นี้เป็น ความดับแห่งสัญญา นี้เป็นความดับแห่งสังขาร นี้เป็นความดับแห่งวิญญาณ”
สมาธิสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๗-๑๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=5              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=293&Z=331                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=27              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=27&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=6330              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=27&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=6330                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i001-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.005.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/khandha/sn22-005.html https://suttacentral.net/sn22.5/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.5/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :