ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๕. สมนุปัสสนาสูตร

๕. สมนุปัสสนาสูตร
ว่าด้วยการพิจารณาเห็น
[๔๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เมื่อพิจารณา ก็พิจารณาเห็นตนเป็นไปต่างๆ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด พิจารณาเห็นอุปาทานขันธ์ (กองอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น) ทั้ง ๕ ประการ หรืออุปาทานขันธ์ประการใดประการหนึ่ง อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ เป็นอย่างไร คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ๑. พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป ๒. พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ ๓. พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ ๔. พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ ๕. พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามี วิญญาณ พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตา ในวิญญาณ การพิจารณาเห็นอย่างนี้ จัดว่าผู้นั้นยึดมั่นถือมั่นว่า ‘เราเป็น’ เมื่อผู้นั้น ยึดมั่นถือมั่นว่า ‘เราเป็น’ ย่อมเกิดอินทรีย์ ๕ ประการ คือ ๑. จักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือจักขุปสาท) ๒. โสตินทรีย์ (อินทรีย์คือโสตปสาท) ๓. ฆานินทรีย์ (อินทรีย์คือฆานปสาท) ๔. ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์คือชิวหาปสาท) ๕. กายินทรีย์ (อินทรีย์คือกายปสาท) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๖๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๖. ขันธสูตร

ภิกษุทั้งหลาย มโนมีอยู่ ธรรม๑- ทั้งหลายมีอยู่ อวิชชาธาตุ๒- มีอยู่ เมื่อปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับถูกความเสวยอารมณ์ซึ่งเกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เขาก็มีความ ยึดมั่นถือมั่นว่า ‘เราเป็น’ บ้าง ‘เราเป็นนี้’ บ้าง ‘เราจักเป็น’ บ้าง ‘เราจักไม่เป็น’ บ้าง ‘เราจักมีรูป’ บ้าง ‘เราจักไม่มีรูป’ บ้าง ‘เราจักมีสัญญา’ บ้าง ‘เราจักไม่มี สัญญา’ บ้าง ‘เราจักมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่’ บ้าง ภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์ ๕ ประการ ตั้งอยู่ได้เพราะการพิจารณาเห็นนั้นแล เมื่อเป็นเช่นนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับ ก็ละอวิชชาในอินทรีย์เหล่านั้น วิชชา๓- จึงเกิดขึ้น เพราะอวิชชาคลายไป เพราะวิชชาเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นจึงไม่มีความยึดมั่นถือมั่นว่า ‘เราเป็น’ บ้าง ‘เราเป็นนี้’ บ้าง ‘เราจักเป็น’ บ้าง ‘เราจักไม่เป็น’ บ้าง ‘เราจัก มีรูป’ บ้าง ‘เราจักไม่มีรูป’ บ้าง ‘เราจักมีสัญญา’ บ้าง ‘เราจักไม่มีสัญญา’ บ้าง ‘เราจักมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่’ บ้าง”
สมนุปัสสนาสูตรที่ ๕ จบ
๖. ขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์
[๔๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ ประการ และ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ เธอทั้งหลายจงฟัง ขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกล หรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า รูปขันธ์ @เชิงอรรถ : @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงธรรมารมณ์ (สํ.ข.อ. ๒/๔๗/๒๙๖) @ อวิชชาธาตุ ในที่นี้หมายถึงอวิชชาในขณะแห่งชวนจิต (สํ.ข.อ. ๒/๔๗/๒๙๖) @ วิชชา ในที่นี้หมายถึงอรหัตตมัคควิชชา (ความรู้แจ้งอรหัตตมรรค) (สํ.ข.อ. ๒/๔๗/๒๙๗, @องฺ.ติก.อ. ๒/๓๔/๑๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๖๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๖๕-๖๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=47              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=1042&Z=1064                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=94              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=94&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=6520              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=94&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=6520                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i087-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.047.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.047.wlsh.html https://suttacentral.net/sn22.47/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.47/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :