ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๑. อัตตทีปสูตร

๕. อัตตทีปวรรค
หมวดว่าด้วยการมีตนเป็นเกาะ
๑. อัตตทีปสูตร
ว่าด้วยการมีตนเป็นเกาะ
[๔๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ๑- มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่ง อื่นเป็นที่พึ่งเลย ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็น ที่พึ่งอยู่ เธอทั้งหลายผู้มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง ควรพิจารณาถึงกำเนิดว่า ‘โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) เกิดขึ้น อย่างไร มีอะไรเป็นแดนเกิด’ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดขึ้นอย่างไร มีอะไร เป็นแดนเกิด คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย ความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ พิจารณาเห็นอัตตาในรูป รูปของเขาแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะรูปแปรผันและ เป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา @เชิงอรรถ : @ มีตนเป็นเกาะ หมายถึงทำตนให้พ้นจากห้วงน้ำ คือ โอฆะ ๔ เหมือนกับเกาะกลางมหาสมุทรที่น้ำท่วม @ไม่ถึง ฉะนั้น (ที.ม.อ. ๑๖๕/๑๕๐, ที.ม.ฏีกา ๑๖๕/๑๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๕๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๑. อัตตทีปสูตร

พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา เวทนาของเขา แปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะเวทนาแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ วิญญาณของ เขาแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะวิญญาณแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุรู้ว่ารูปไม่เที่ยง แปรผันไป คลายไป ดับไป เห็น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘รูปในกาลก่อนและรูปทั้งปวงในบัดนี้ ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ก็จะละโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ก็อยู่เป็นสุข ภิกษุผู้อยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า ‘ผู้ดับกิเลสแล้วด้วยองค์ธรรมนั้น’ ก็เมื่อภิกษุรู้ว่าเวทนาไม่เที่ยง แปรผันไป คลายไป ดับไป เห็นด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘เวทนาในกาลก่อนและเวทนาทั้งปวงในบัดนี้ ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ก็จะละโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้จึงไม่สะดุ้ง เมื่อ ไม่สะดุ้ง ก็อยู่เป็นสุข ภิกษุผู้อยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า ‘ผู้ดับกิเลสแล้วด้วยองค์ ธรรมนั้น’ ก็เมื่อภิกษุรู้ว่าสัญญาไม่เที่ยง ... ก็เมื่อภิกษุรู้ว่าสังขารไม่เที่ยง แปรผันไป คลายไป ดับไป เห็นด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘สังขารในกาลก่อนและสังขารทั้งปวงในบัดนี้ ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ก็จะละโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ก็อยู่เป็นสุข ภิกษุผู้อยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า ‘ผู้ดับกิเลสแล้วด้วยองค์ธรรมนั้น’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๖๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๒. ปฏิปทาสูตร

ก็เมื่อภิกษุรู้ว่าวิญญาณไม่เที่ยง แปรผันไป คลายไป ดับไป เห็นด้วย ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘วิญญาณในกาลก่อนและวิญญาณ ทั้งปวงในบัดนี้ ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ก็จะละโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้ จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมอยู่เป็นสุข ภิกษุผู้อยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า ‘ผู้ดับกิเลสแล้วด้วย องค์ธรรมนั้น”
อัตตทีปสูตรที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๕๙-๖๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=43              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=948&Z=980                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=87              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=87&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=6483              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=87&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=6483                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i087-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.043.wlsh.html https://suttacentral.net/sn22.43/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.43/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :