ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๒๓-๑๑๒. สารคันธาทิทานูปการสุตตนวุติกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๙๐ สูตร มีสารคันธทานูปการสูตรเป็นต้น
[๔๖๐-๕๔๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตาย แล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่น ฯลฯ เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กระพี้ ... เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่เปลือก ... เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่สะเก็ด ... เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบ ... เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ดอก ... เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ผล ... เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รส ... จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริต ทางกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงการอยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่น ที่กลิ่น’ จึงให้ข้าว ฯลฯ ให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน ... ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม ... ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ... ให้เครื่องประทีป หลังจาก ตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๓๖๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๐. คันธัพพสังยุต]

รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น”
สารคันธาทิทานูปการสุตตนวุติกะที่ ๒๓-๑๑๒ จบ
(ด้วยการรวบรวมเข้าเป็นหมวดเดียวกันอย่างนี้ จึงมีพระสูตร ๑๑๒ สูตร)
คันธัพพกายสังยุต จบ
รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ
๑. สุทธิกสูตร ๒. สุจริตสูตร ๓. มูลคันธทาตาสูตร ๔-๑๒. สารคันธาทิทาตาสุตตนวกะ ๑๓-๒๒. มูลคันธทานูปการสุตตทสกะ ๒๓-๑๑๒. สารคันธาทิทานูปการสุตตนวุติกะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๓๖๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๓๖๗-๓๖๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=298              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=6436&Z=6460                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=541              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=541&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=541&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i536-e.php#sutta23 https://suttacentral.net/sn31.23-112/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :