ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๖. ทุติยอัสสาทสูตร

๖. ทุติยอัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของขันธ์ สูตรที่ ๒
[๒๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของรูป ได้ พบคุณของรูปแล้ว คุณของรูปมีประมาณเท่าใด เราเห็นคุณประมาณเท่านั้นดีแล้ว ด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของรูป ได้พบโทษของรูปแล้ว โทษของรูปมีประมาณ เท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากรูป ได้พบเครื่องสลัดออกจากรูปแล้ว เครื่องสลัดออกจากรูปมีประมาณเท่าใด เราเห็นเครื่องสลัดออกจากรูปประมาณ เท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของเวทนา ฯลฯ เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของสัญญา ฯลฯ เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของสังขาร ฯลฯ เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของวิญญาณ ได้พบคุณของวิญญาณแล้ว คุณของ วิญญาณมีประมาณเท่าใด เราเห็นคุณประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของวิญญาณ ได้พบโทษของวิญญาณแล้ว โทษของ วิญญาณมีประมาณเท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ ได้พบเครื่องสลัดออกจาก วิญญาณแล้ว โทษของวิญญาณมีประมาณเท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดี แล้วด้วยปัญญา ภิกษุทั้งหลาย ตราบใด เรายังไม่รู้ชัดคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความ เป็นโทษ และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๔๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๗. ตติยอัสสาทสูตร

อนึ่ง ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็น ชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”๑-
ทุติยอัสสาทสูตรที่ ๖ จบ
๗. ตติยอัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของขันธ์ สูตรที่ ๓
[๒๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณของรูปจักไม่มีแล้ว สัตว์ ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในรูป แต่เพราะคุณของรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึง ติดใจในรูป ถ้าโทษของรูปจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป แต่เพราะ โทษของรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในรูป ถ้าเครื่องสลัดออกจากรูปจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากรูป แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากรูป ถ้าคุณของเวทนาจักไม่มีแล้ว ฯลฯ ถ้าคุณของสัญญาจักไม่มีแล้ว ฯลฯ ถ้าคุณของสังขารจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในสังขาร แต่เพราะ คุณของสังขารมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในสังขาร ถ้าโทษของสังขารจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในสังขาร แต่ เพราะโทษของสังขารมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในสังขาร ถ้าเครื่องสลัดออกจากสังขารจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากสังขาร แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากสังขารมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากสังขาร ถ้าคุณของวิญญาณจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในวิญญาณ แต่ เพราะคุณของวิญญาณมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในวิญญาณ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๑๕/๑๔-๑๕, ๑๖/๑๕-๑๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๔๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๔๐-๔๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=27              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=646&Z=663                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=61              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=61&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=61&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i049-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/sn22.27/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.27/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :