ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๒. เอตังมมสูตร
ว่าด้วยการพิจารณาเห็นว่านั่นของเรา
[๑๕๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร บุคคลจึงพิจารณาเห็นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา ของเรา” ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป บุคคลจึง พิจารณาเห็นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ เมื่อมีเวทนา ฯลฯ เมื่อมีสัญญา ... เมื่อมีสังขาร ... @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๑๐๕/๑๑๘-๑๑๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๒๔๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๓. โสอัตตาสูตร

เมื่อมีวิญญาณ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ บุคคลจึง พิจารณาเห็นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” “ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น บุคคลจะพึง พิจารณาเห็นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ หรือ” “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” “ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น บุคคลจะพึง พิจารณาเห็นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ หรือ” “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มี กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
เอตังมมสูตรที่ ๒ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๒๔๐-๒๔๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=149              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=4130&Z=4157                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=348              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=348&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=8062              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=348&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=8062                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i346-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/sn22.151/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :