ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๗. มหาวรรค ๘. โกสัมพิสูตร

๘. โกสัมพิสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรม ณ กรุงโกสัมพี
[๖๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระมุสิละ ท่านพระปวิฏฐะ ท่านพระนารทะ และท่านพระ อานนท์พักอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระปวิฏฐะได้ถาม ท่านพระมุสิละว่า “ท่านมุสิละ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว ท่านมุสิละมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมีหรือ’ ท่านพระมุสิละได้ตอบว่า ‘ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้ กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี” “ท่านมุสิละ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ ไว้แล้ว ท่านมุสิละมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมีหรือ’ ฯลฯ ‘เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี’ ... ‘เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี’ ... ‘เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’ ... ‘เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’ ... ‘เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’ ... ‘เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี’ ... ‘เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี’ ... ‘เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี’ ... ‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมีหรือ’ “ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี” “ท่านมุสิละ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ ไว้แล้ว ท่านมุสิละมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะชาติดับ ชรา และมรณะจึงดับหรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๓๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๗. มหาวรรค ๘. โกสัมพิสูตร

“ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า “เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ” “ท่านมุสิละ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ ไว้แล้ว ท่านมุสิละมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะภพดับ ชาติจึงดับหรือ’ ฯลฯ ‘เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ’ ... ‘เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ’ ... ‘เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ’ ... ‘เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ’ ... ‘เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ’ ... ‘เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ’ ... ‘เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ’ ... ‘เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ’ ... ‘เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับหรือ” “ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ” “ท่านมุสิละ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว ท่านมุสิละมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘ความดับแห่งภพเป็นนิพพานหรือ” “ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘ความดับแห่งภพเป็นนิพพาน”๑- “ถ้าเช่นนั้น ท่านมุสิละก็เป็นพระอรหันตขีณาสพละสิ” เมื่อท่านพระปวิฏฐะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมุสิละได้นิ่งเสีย ลำดับนั้น ท่านพระนารทะได้กล่าวกับท่านพระปวิฏฐะว่า ‘ดีละ ท่านปวิฏฐะ ผมพึงได้ปัญหานี้ ท่านจงถามปัญหานี้เถิด ผมจะตอบปัญหานี้แก่ท่าน” @เชิงอรรถ : @ ความดับแห่งภพเป็นนิพพาน ในที่นี้หมายถึงความดับไปแห่งขันธ์ ๕ (สํ.นิ.อ. ๒/๖๘/๑๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๓๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๗. มหาวรรค ๘. โกสัมพิสูตร

“ท่านนารทะได้ปัญหานี้ ผมจะถามปัญหานี้กับท่าน และท่านจงตอบปัญหานี้ แก่ผม ท่านนารทะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว ท่านนารทะมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมีหรือ” “ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี” “ท่านนารทะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ ไว้แล้ว ท่านนารทะมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี’ ฯลฯ ‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมีหรือ” “ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี” “ท่านนารทะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ ไว้แล้ว ท่านนารทะมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับหรือ” “ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ” “ท่านนารทะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ ไว้แล้ว ท่านนารทะมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะภพดับ ชาติจึงดับหรือ’ ฯลฯ ‘เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับหรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๔๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๗. มหาวรรค ๘. โกสัมพิสูตร

“ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ” “ท่านนารทะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ ไว้แล้ว ท่านนารทะมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘ความดับแห่งภพเป็นนิพพานหรือ” “ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘ความดับแห่งภพเป็นนิพพาน” “ถ้าเช่นนั้น ท่านนารทะก็เป็นพระอรหันตขีณาสพละสิ” “ท่านผู้มีอายุ ข้อว่า ‘ความดับแห่งภพเป็นนิพพาน’ ผมเห็นดีด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริง แต่ผมไม่ใช่พระอรหันตขีณาสพ เปรียบเหมือนบ่อน้ำใน ทางกันดารที่บ่อนั้นไม่มีเชือก ไม่มีคันโพง ทันใดนั้น มีบุรุษเดินฝ่าความร้อนอบอ้าว เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากระหายน้ำมา เขามองดูบ่อน้ำนั้น ก็รู้ว่ามีน้ำ แต่สัมผัสด้วย กายไม่ได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ข้อว่า ‘ความดับแห่งภพเป็นนิพพาน’ ผมก็เห็นดีด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง แต่ผมไม่ใช่พระอรหันตขีณาสพ” เมื่อท่านพระนารทะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้ถามพระปวิฏฐะว่า ‘ท่านพระปวิฏฐะชอบพูดอย่างนี้ ท่านพูดอะไรกับท่านพระนารทะบ้าง” “ท่านอานนท์ ผมชอบพูดอย่างนี้ ผมไม่ได้พูดอะไรกับท่านพระนารทะ นอกจาก กัลยาณธรรม นอกจากกุศลธรรม”
โกสัมพิสูตรที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๔๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๑๓๘-๑๔๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=64              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=3074&Z=3161                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=268              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=268&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=3106              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=268&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=3106                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i230-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn12/sn12.068.than.html https://suttacentral.net/sn12.68/en/sujato https://suttacentral.net/sn12.68/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :