ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๕. นครสูตร
ว่าด้วยนคร
[๖๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ... “ภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความ คิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘โลกนี้ถึงความคับแค้น จึงเกิด แก่ ตาย จุติและอุบัติ ก็บุคคล ไม่รู้อุบายสลัดออกจากทุกข์คือชราและมรณะนี้ เมื่อไรจึงจะพ้นจากทุกข์คือชราและ มรณะนี้ได้’ เราได้ดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ชรา และมรณะจึงมี’ เพราะมนสิการโดยแยบคาย เราจึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อชาติมี ชราและมรณะจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๒๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๗. มหาวรรค ๕. นครสูตร

เราได้ดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี ฯลฯ ภพจึงมี ... อุปาทานจึงมี ... ตัณหา จึงมี ... เวทนาจึงมี ... ผัสสะจึงมี... สฬายตนะจึงมี ... นามรูปจึงมี ... เพราะอะไร เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี’ เพราะมนสิการโดยแยบคาย เราจึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า ‘เพราะวิญญาณมี นามรูปจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี’ เราได้ดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี วิญญาณจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี’ เพราะมนสิการโดยแยบคาย เราจึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า ‘เพราะนามรูปมี วิญญาณ จึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี’ เราได้ดำริว่า ‘วิญญาณนี้ย่อมกลับมา ไม่พ้นจากนามรูป ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ โลกจึงเกิด แก่ ตาย จุติ และอุบัติ กล่าวคือ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ จึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุทั้งหลาย จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ เคยได้ฟังมาก่อนได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘สมุทัย สมุทัย’ เราได้ดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชราและ มรณะจึงดับ’ เพราะมนสิการโดยแยบคาย เราจึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อชาติ ไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ’ เราได้ดำริว่า ‘เพราะอะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี ฯลฯ ภพจึงไม่มี ... อุปาทานจึง ไม่มี ... ตัณหาจึงไม่มี ... เวทนาจึงไม่มี ... ผัสสะจึงไม่มี ... สฬายตนะจึงไม่มี ... นามรูปจึงไม่มี ... เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ’ เพราะมนสิการโดยแยบคาย เราจึงได้ รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า ‘เพราะวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะวิญญาณดับ นามรูป จึงดับ’ เราได้ดำริว่า ‘เพราะอะไรไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะอะไรดับ วิญญาณจึงดับ’ เพราะมนสิการโดยแยบคาย เราจึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า ‘เพราะนามรูปไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะนามรูปดับ วิญญาณจึงดับ’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๒๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๗. มหาวรรค ๕. นครสูตร

เราได้ดำริว่า ‘มรรคนี้เราได้บรรลุแล้วด้วยปัญญาเครื่องตรัสรู้ คือ เพราะนามรูป ดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะ จึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุทั้งหลาย จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ เคยได้ฟังมาก่อนได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘นิโรธ นิโรธ’ เปรียบเหมือนบุรุษเมื่อเที่ยวไปในป่าเล็ก ป่าใหญ่ พบทางเก่าที่คนสมัยก่อน เคยใช้เดินไปมา เขาเดินตามทางนั้นไป พบนครเก่า ราชธานีโบราณซึ่งสมบูรณ์ด้วย สวนดอกไม้ ป่าไม้ สระโบกขรณี เชิงเทิน ล้วนน่ารื่นรมย์ ที่คนสมัยก่อนเคยอยู่ อาศัย ต่อมาเขาได้กราบทูลพระราชา หรือเรียนแก่ราชมหาอำมาตย์ว่า ‘ขอเดชะ ขอพระองค์โปรดทรงรับรู้เถิดพระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าเมื่อเที่ยวไปในป่าเล็ก ป่าใหญ่ ได้พบทางเก่าที่คนสมัยก่อนเคยใช้เดินไปมา ข้าพระพุทธเจ้าเดินตามทาง นั้นไป ขณะเดินอยู่ ก็ได้พบนครเก่า ราชธานีโบราณซึ่งสมบูรณ์ด้วยสวนดอกไม้ ป่าไม้ สระโบกขรณี เชิงเทิน ล้วนน่ารื่นรมย์ ที่คนสมัยก่อนเคยอยู่อาศัย ขอพระองค์โปรด ให้สร้างพระนครนั้นเถิด พระพุทธเจ้าข้า’ หลังจากนั้น พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์ จึงได้สร้างนครนั้นขึ้นมา ต่อมาพระนครนั้นได้มั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก มีพลเมืองหนาแน่น ทั้งถึงความเจริญไพบูลย์ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เราได้ พบทางเก่า ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ เคยเสด็จพระดำเนิน ทางเก่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ เคยเสด็จพระดำเนิน เป็นอย่างไร คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้คือทางเก่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ เคยเสด็จพระดำเนิน เราก็ ได้ดำเนินตามทางนั้น ได้รู้ชัดชราและมรณะ ได้รู้ชัดความเกิดแห่งชราและมรณะ ได้รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ และได้รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและ มรณะ เราได้ดำเนินไปตามทางนั้นแล้ว ขณะดำเนินไปได้รู้ชัดชาติ ฯลฯ ได้รู้ชัดภพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๒๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๗. มหาวรรค ๖. สัมมสสูตร

... ได้รู้ชัดอุปาทาน ... ได้รู้ชัดตัณหา ... ได้รู้ชัดเวทนา ... ได้รู้ชัดผัสสะ ... ได้รู้ชัด สฬายตนะ ... ได้รู้ชัดนามรูป ... ได้รู้ชัดวิญญาณ ... เราได้ดำเนินตามทางนั้นแล้ว ขณะดำเนินไป ได้รู้ชัดสังขารทั้งหลาย ได้รู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร ได้รู้ชัดความ ดับแห่งสังขาร ได้รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร ครั้นได้รู้ชัดอริยมรรค มีองค์ ๘ นั้นแล้ว เราจึงบอกแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้จึงได้บริบูรณ์ กว้างขวาง รู้จักกันโดยมาก มั่นคงดี กระทั่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ดีแล้ว”
นครสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๑๒๖-๑๒๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=61              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=2780&Z=2854                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=250              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=250&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=2916              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=250&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=2916                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i230-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn12/sn12.065.than.html https://suttacentral.net/sn12.65/en/sujato https://suttacentral.net/sn12.65/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :