ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๔. กฬารขัตติยวรรค ๕. อวิชชาปัจยสูตร

๕. อวิชชาปัจจยสูตร
ว่าด้วยอวิชชาเป็นปัจจัย
[๓๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี “ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็น ปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชราและมรณะเป็นอย่างไร ชราและมรณะนี้เป็นของใคร” “ภิกษุ ปัญหานี้ไม่สมควรถาม ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ชราและมรณะเป็นอย่างไร ชราและมรณะนี้เป็นของใคร’ หรือพึงกล่าวว่า ‘ชราและมรณะเป็นอย่างอื่น ชราและ มรณะนี้เป็นของผู้อื่น’ คำทั้งสองนั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ เท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ การอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ย่อมไม่มี ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมโดยสาย กลางว่า ‘เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี” “ชาติเป็นอย่างไร และชาตินี้เป็นของใคร” “ปัญหานี้ไม่สมควรถาม ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ชาติเป็นอย่างไร และชาตินี้เป็น ของใคร’ หรือพึงกล่าวว่า ‘ชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็นของผู้อื่น’ คำทั้งสอง นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับ สรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ตถาคตไม่ เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า ‘เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี” “ภพเป็นอย่างไร และภพนี้เป็นของใคร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๗๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๔. กฬารขัตติยวรรค ๕. อวิชชาปัจยสูตร

“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ภพเป็นอย่างไร และภพนี้เป็น ของใคร’ หรือพึงกล่าวว่า ‘ภพเป็นอย่างอื่น และภพนี้เป็นของผู้อื่น’ คำทั้งสอง นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับ สรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ตถาคตไม่ เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า ‘เพราะอุปาทานเป็น ปัจจัย ภพจึงมี’ ฯลฯ ‘เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี’ ... ‘เพราะเวทนา เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’ ... ‘เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’ ... ‘เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’ ... ‘เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี’ ... ‘เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี’ ... ‘เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี” “สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไร และสังขารเหล่านี้เป็นของใคร” “ปัญหานี้ไม่สมควรถาม ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไร และ สังขารเหล่านี้ เป็นของใคร’ หรือพึงกล่าวว่า ‘สังขารทั้งหลายเป็นอย่างอื่น และ สังขารเหล่านี้เป็นของผู้อื่น’ คำทั้งสองนั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่ พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ การอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน การอยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรม โดยสายกลางว่า ‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี” “เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ที่ดิ้นรนไปว่า ‘ชราและมรณะเป็นอย่างไร ชราและมรณะนี้เป็น ของใคร หรือว่าชราและมรณะเป็นอย่างอื่น ชราและมรณะนี้เป็นของผู้อื่นว่า ‘ชีวะกับ สรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดอัน อริยสาวกนั้นละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอน โคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ที่ดิ้นรนไปว่า ‘ชาติเป็นอย่างไร และชาตินี้เป็นของใคร หรือว่า ชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็นของผู้อื่นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่า ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดอันอริยสาวกนั้นละได้เด็ดขาดแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๗๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๔. กฬารขัตติยวรรค ๖. ทุติยอวิชชาปัจจยสูตร

ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ที่ดิ้นรนไปว่า ‘ภพเป็นอย่างไร ฯลฯ อุปาทานเป็นอย่างไร ... ตัณหาเป็นอย่างไร ... เวทนาเป็นอย่างไร ... ผัสสะเป็นอย่างไร ... สฬายตนะเป็น อย่างไร ... นามรูปเป็นอย่างไร ... วิญญาณเป็นอย่างไร ... เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ที่ดิ้นรนไปว่า ‘สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไร และสังขารเหล่านี้เป็น ของใคร หรือว่าสังขารทั้งหลายเป็นอย่างอื่น และสังขารเหล่านี้เป็นของผู้อื่น ชีวะ กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่าชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ ทิฏฐิเหล่านั้น ทั้งหมดอันอริยสาวกนั้นละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด รากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้”
อวิชชาปัจจยสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๗๕-๗๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=31              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=1595&Z=1667                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=128              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=128&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=1728              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=128&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=1728                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i098-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn12/sn12.035.than.html https://suttacentral.net/sn12.35/en/sujato https://suttacentral.net/sn12.35/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :