ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๑๒. อปคตสูตร
ว่าด้วยปราศจากอหังการ มมังการและมานะ
[๒๐๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ... ครั้งนั้น ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างไร ใจจึงปราศจากอหังการ มมังการ และมานะ ในกายที่มีวิญญาณครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ก้าวล่วงส่วนแห่ง มานะ สงบระงับ หลุดพ้นดีแล้ว” “ราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปภายใน หรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลว หรือประณีต อยู่ไกล หรืออยู่ใกล้ รูป ทั้งหมดนั้น อริยสาวกเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา” เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สังขารเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ... วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไป ภายใน หรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลว หรือประณีต อยู่ไกล หรืออยู่ใกล้ วิญญาณทั้งหมดนั้น อริยสาวกเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๓๐๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]

๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ ยึดมั่นถือมั่น ราหุล เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างนี้ ใจจึงปราศจากอหังการ มมังการ และมานะ ในกายที่มีวิญญาณครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ก้าวล่วงส่วนแห่งมานะ สงบระงับ หลุดพ้นดีแล้ว”
อปคตสูตรที่ ๑๒ จบ
ทุติยวรรค จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. จักขุสูตร ๒. รูปสูตร ๓. วิญญาณสูตร ๔. สัมผัสสสูตร ๕. เวทนาสูตร ๖. สัญญาสูตร ๗. สัญเจตนาสูตร ๘. ตัณหาสูตร ๙. ธาตุสูตร ๑๐. ขันธสูตร ๑๑. อนุสยสูตร ๑๒. อปคตสูตร
ราหุลสังยุต จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๓๐๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๓๐๑-๓๐๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=195              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=6702&Z=6736                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=634              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=634&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=5280              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=634&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=5280                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i620-e.php#sutta12 https://suttacentral.net/sn18.22/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :