ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๕. มีฬหกสูตร
ว่าด้วยภิกษุติดลาภสักการะและความสรรเสริญเปรียบเหมือน
แมลงวันกินคูถ
[๑๖๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ... “ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ บรรลุธรรม เปรียบเหมือนแมลงวันกินคูถเต็มท้องและเปื้อนคูถ และข้างหน้าของมัน ยังมีคูถกองใหญ่ มันยังดูหมิ่นแมลงวันเหล่าอื่นว่า ‘เรากินคูถเต็มท้องและเปื้อนคูถ เรายังมีคูถกองใหญ่อยู่ข้างหน้าอีก’ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ภิกษุบางรูปใน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๖๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๖. อสนิสูตร

ธรรมวินัยนี้ ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต เวลาเช้า ครอง อันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ฉัน(ภัตตาหาร) จนพอ แก่ความต้องการ และทายกยังนิมนต์ให้ฉันในวันรุ่งขึ้น แม้อาหารของเธอจะเต็ม บาตร เธอไปอารามแล้ว ยังพูดโอ้อวดท่ามกลางหมู่ภิกษุว่า ‘ผมฉันพอแก่ความ ต้องการแล้ว ทายกยังนิมนต์ให้ฉันในวันรุ่งขึ้น อาหารของผมก็เต็มบาตร และยังจะ ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอีก ส่วนภิกษุเหล่าอื่น มีบุญน้อย มีศักดิ์น้อย จึงไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช- บริขาร’ เธอถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต จึงดูหมิ่นภิกษุเหล่าอื่น ผู้มีศีลเป็นที่รัก การกระทำ ของโมฆบุรุษนั้นเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอด กาลนาน ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
มีฬหกสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๒๖๘-๒๖๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=156              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=5961&Z=5980                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=547              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=547&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=5119              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=547&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=5119                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i536-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn17/sn17.005.than.html https://suttacentral.net/sn17.5/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :