ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]

๑. นฬวรรค ๕. กติฉินทสูตร

๕. กติฉินทสูตร
ว่าด้วยบุคคลตัดอะไรจึงข้ามโอฆะได้
[๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า บุคคลควรตัดธรรมเท่าไร ควรละธรรมเท่าไร ควรบำเพ็ญธรรมเท่าไรให้ยิ่งขึ้นไป ภิกษุก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องเท่าไร พระองค์จึงตรัสว่า ข้ามโอฆะได้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลควรตัดธรรม ๕ ประการ๑- ควรละธรรม ๕ ประการ๒- ควรเจริญธรรม ๕ ประการ๓- ให้ยิ่งขึ้นไป ภิกษุก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง ๕ ประการ๔- ได้แล้ว เราจึงกล่าวว่า ข้ามโอฆะได้๕-
กติฉินทสูตรที่ ๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ ธรรม ๕ ประการ ในที่นี้หมายถึงโอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการ ได้แก่ (๑) สักกาย- @ทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน (๒) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย (๓) สีลัพพตปรามาส ความถือมั่น @ศีลพรต (๔) กามฉันทะ ความพอใจในกามคุณ (๕) ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ หรือพยาบาท ความ @คิดร้าย (สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๘๐/๑๐๖, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓/๒๑, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๐/๕๙๒) @ ธรรม ๕ ประการ ในที่นี้หมายถึงอุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการ ได้แก่ (๑) รูปราคะ @ความติดใจในรูปธรรม (๒) อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม (๓) มานะ ความถือตัว (๔) อุทธัจจะ @ความฟุ้งซ่าน (๕) อวิชชา ความไม่รู้จริง (สํ.ส.อ. ๑/๕/๒๓) @ ธรรม ๕ ประการ ในที่นี้หมายถึงอินทรีย์ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน) ๕ ประการ คือ (๑) สัทธินทรีย์ @ธรรมที่เป็นใหญ่คือศรัทธา (๒) วิริยินทรีย์ ธรรมที่เป็นใหญ่คือวิริยะ (๓) สตินทรีย์ ธรรมที่เป็นใหญ่ @คือสติ (๔) สมาธินทรีย์ ธรรมที่เป็นใหญ่คือสมาธิ (๕) ปัญญินทรีย์ ธรรมที่เป็นใหญ่คือปัญญา @(สํ.ส.อ. ๑/๕/๒๔) @ ธรรมเป็นเครื่องข้อง ๕ ประการ คือ (๑) ราคะ ความกำหนัด (๒) โทสะ ความโกรธ (๓) โมหะ @ความหลง (๔) มานะ ความถือตัว (๕) ทิฏฐิ ความเห็น (สํ.ส.อ. ๑/๕/๒๔) @ ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๕/๓๐๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=5              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=69&Z=78                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=11              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=11&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=594              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=11&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=594                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i001-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/sn1.5/en/sujato https://suttacentral.net/sn1.5/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :