ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๔. เวปจิตติสูตร
ว่าด้วยท้าวเวปจิตติ
[๒๕๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทพกับอสูรประชิดกัน ครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรรับสั่งกับพวกอสูรว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อ สงครามระหว่างเทพกับอสูรประชิดกัน พวกอสูรพึงชนะ พวกเทพพึงพ่ายแพ้ เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงจองจำท้าวสักกะจอมเทพด้วยเครื่องจองจำทั้ง ๕ ๑- รวมทั้งเครื่องผูกคอ แล้วพึงนำมายังเมืองอสูรในสำนักของเรา’ ฝ่ายท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งกับเทพชั้นดาวดึงส์ทั้งหลายว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงครามระหว่างเทพกับอสูรประชิดกัน พวกเทพพึงชนะ พวกอสูร @เชิงอรรถ : @ เครื่องจองจำทั้ง ๕ ได้แก่ เครื่องจองจำอวัยวะ ๕ ส่วน คือ มือ ๒ เท้า ๒ ลำคอ ๑ (สํ.ส.อ. ๑/๒๕๐/๓๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๖๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๔. เวปจิตติสูตร

พึงพ่ายแพ้ เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงจองจำท้าวเวปจิตติจอมอสูร ด้วยเครื่อง จองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอ แล้วพึงนำมายังสภาชื่อสุธรรมา ในสำนักของเรา’ สงครามครั้งนั้น พวกเทพชนะ พวกอสูรพ่ายแพ้ ต่อมาเทพชั้นดาวดึงส์ได้ จองจำท้าวเวปจิตติจอมอสูรด้วยเครื่องจองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอ แล้วนำมา ยังสภาชื่อสุธรรมา ในสำนักของท้าวสักกะจอมเทพ ได้ยินว่า ท้าวเวปจิตติจอมอสูร ถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอ ได้ด่าบริภาษท้าวสักกะ จอมเทพ ซึ่งกำลังเสด็จเข้าและออกยังสภาชื่อสุธรรมา ด้วยวาจาหยาบคาย อันมิใช่ วาจาของสัตบุรุษ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น มาตลีเทพบุตรผู้สงเคราะห์ ได้ทูลถามท้าวสักกะ จอมเทพด้วยคาถาว่า ข้าแต่ท้าวสักกมฆวาน พระองค์ได้ทรงสดับถ้อยคำอันหยาบคาย ต่อหน้าของท้าวเวปจิตติจอมอสูร ยังทรงอดทนได้เพราะความกลัว หรือเพราะไม่มีกำลัง พระเจ้าข้า ท้าวสักกะตรัสตอบว่า เราอดทนถ้อยคำอันหยาบคาย ของท้าวเวปจิตติได้เพราะความกลัว หรือเพราะไม่มีกำลังก็หาไม่ ด้วยว่า วิญญูชนเช่นเราจะพึงโต้ตอบกับคนพาลทำไม มาตลีเทพบุตรกราบทูลว่า พวกคนพาลพึงทำลายได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเราไม่กีดกันไว้เสียก่อน เพราะฉะนั้น ธีรชนพึงกีดกันพวกคนพาลไว้ ด้วยอาชญาอย่างรุนแรง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๖๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๔. เวปจิตติสูตร

ท้าวสักกะตรัสว่า ผู้ใดรู้ว่าคนอื่นโกรธ เป็นผู้มีสติ สงบใจไว้ได้ เราเห็นว่า การสงบใจไว้ได้ของผู้นั้น เป็นการกีดกันพวกคนพาลไว้ได้ มาตลีเทพบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่ท้าววาสวะ ข้าพระองค์เห็นคุณ และโทษในความอดกลั้นนี้ว่า เมื่อใด คนพาลย่อมเข้าใจบุคคลนั้นว่า ผู้นี้ย่อมอดกลั้นต่อเราเพราะความกลัว เมื่อนั้น คนมีปัญญาทราม ก็ยิ่งข่มขี่ผู้นั้น เหมือนโคตัวที่มีกำลังข่มขี่โคตัวที่แพ้ให้หนีไป ฉะนั้น ท้าวสักกะตรัสว่า บุคคลจะเข้าใจว่า คนนี้อดกลั้นต่อเราได้ เพราะความกลัว หรือไม่ก็ตามที ประโยชน์ทั้งหลายของตนเป็นอย่างยิ่ง ประโยชน์อื่นที่ยิ่งกว่าขันติไม่มี บุคคลใดเป็นคนแข็งแรง อดกลั้นต่อผู้อ่อนแรงกว่าได้ ความอดกลั้นของบุคคลนั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเป็นขันติอย่างยิ่ง เพราะว่าบุคคลผู้อ่อนแรงจำต้องอดทนอยู่เอง กำลังของบุคคลใดไม่เข้มแข็ง บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงกำลังของบุคคลนั้นว่า ไม่ใช่กำลัง เพราะว่าไม่มีบุคคลใดกล่าวโต้ตอบบุคคลผู้มีกำลัง และมีธรรมคุ้มครองแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๖๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๕. สุภาสิตชยสูตร

ผู้ใดโกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ ผู้นั้นย่อมเลวกว่าผู้โกรธ เพราะการโกรธตอบนั้น บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธ เป็นผู้มีสติ สงบใจไว้ได้ ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรมย่อมเข้าใจว่าเป็นคนโง่ ภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทพนั้นอาศัยผลบุญของพระองค์เป็นอยู่ เสวยราชสมบัติอันมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วยความเป็นใหญ่แห่งเทพชั้นดาวดึงส์ ยังมา พรรณนาคุณของขันติและโสรัจจะไว้ ก็ข้อที่พวกเธอบวชในธรรมวินัยที่เรากล่าว ชอบแล้ว เป็นผู้อดทนและสงบเสงี่ยมได้ นี้จะพึงงดงามในธรรมวินัยนี้โดยแท้”
เวปจิตติสูตรที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๖๓-๓๖๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=250              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=7113&Z=7173                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=867              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=867&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=8388              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=867&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=8388                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i847-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn11/sn11.004.olen.html https://suttacentral.net/sn11.4/en/sujato https://suttacentral.net/sn11.4/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :